Page 183 - kpiebook66030
P. 183

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             และแม่น้ำ ซึ่งคล้ายกับแพลงตอนทำให้พวกสัตว์น้ำกินเข้าไป แล้วเข้าสู่ร่างกายของคนในที่สุด
             ปัญหาขยะของประเทศจึงเป็นปัญหาที่เราต้องให้ความสำคัญและเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน
             ประเด็นสำคัญคือ จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะได้อย่างไร เพราะการจัดการ
             ขยะเป็นเรื่องของท้องถิ่น รวมทั้งจะทำอย่างไรเพื่อให้แผนต่าง ๆ ที่ทำเตรียมการไว้ สามารถ

             นำไปปฏิบัติได้จริง

                   ทิศทางการพัฒนาใหม่ของประเทศไทยคือ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (bio economy)
             เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (green economy) ทำอย่างไร
             ให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้ คนมีรายได้สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ดี มีสุขเพิ่มขึ้น

             ขณะเดียวกันเกิดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้น้อยลง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
             ทำอย่างไรเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เรามีอยู่ ไม่หมดสิ้นไปในยุคของเรา
             แต่สามารถส่งต่อไปถึงคนรุ่นถัดไปได้ เราจะอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างไร

             ตามแนวคิด Resilience หรือล้มแล้วลุกได้ไว ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่บรรจุอยู่ใน
             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 – 2570

                   ประชาธิปไตยกับสิ่งแวดล้อมที่เราพูดถึง ทำอย่างไรให้เกิดนโยบายที่คำนึงถึงการรับฟัง
             ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นนวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อน

             นโยบายบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม อีกทั้งมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ บนฐานของข้อมูล
             ที่เปิดเผยและสามารถชี้แจงได้ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง เพราะชุมชนเป็น
             ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรับมือกับความท้าทายด้าน
             สิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันหลาย ๆ ฝ่าย


             จิรวัฒน์ ระติสุนทร


                   สถานการณ์ของโลกขณะนี้ที่กำลังเผชิญกับภาวะโลกรวน (climate change) เป็นเรื่อง
             ที่ทุกคนสัมผัสได้ว่าอากาศร้อนเกินไป อากาศหนาวเกินไป แห้งแล้งเกินไป น้ำมากเกินไป

             มีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ทุกคนในโลกใบนี้จะต้องเผชิญความเสี่ยงด้าน
             สิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้น 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
             (climate change) 2) สภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง เช่น หนาวจัด หิมะตกในทะเลทราย
             น้ำท่วม น้ำทะเลหนุน หิมะขั้วโลกละลาย 3) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

             4) ระบบนิเวศรอบตัวเกิดความเสียหายรุนแรง และ 5) ทรัพยากรธรรมชาติสูญหายไป
             ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 เรื่องเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทุกคนอย่างหลีกเลี่ยง
             ไม่ได้ รวมไปถึงลูกหลานของทุกคนในอนาคต


                   สำหรับประเทศไทย ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและ           การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
             แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เตรียมความพร้อมด้วยการใช้ยุทธศาสตร์ระยะยาว
             (long term strategy) ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188