Page 182 - kpiebook66030
P. 182
สรุปการประชุมวิชาการ
1 2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว
ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมในอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ในอดีตปัญหาสิ่งแวดล้อมจะค่อย ๆ สร้างความเดือดร้อน เพราะทรัพยากรยังมีอยู่เป็น
จำนวนมาก และไม่ส่งผลกระทบกับผู้คนมากนัก ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่ทำให้เกิดผลกระทบ
เป็นวงกว้าง ยกตัวอย่างเช่น ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง เดิมทีมีปลาจำนวนมาก
แต่ปัจจุบันปลาลดน้อยลงและคุณภาพน้ำเปลี่ยนไป รวมถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
เป็นความไม่มั่นคงในแม่น้ำโขง ที่ส่งผลกระทบไปทั้งหมด ทั้งคน สัตว์ ทรัพยากรต่าง ๆ
แม่น้ำโขงไหลผ่าน 6 ประเทศ แต่แม่น้ำโขงไม่สามารถแบ่งแยกได้ ฉะนั้น ต้องลดความเป็น
อำนาจอธิปไตยของรัฐลง และทำให้เกิดกระบวนการสร้างความร่วมมือ ไม่ใช่ทำให้เกิดสงคราม
แย่งชิงทรัพยากรระหว่างประเทศ
เราต่างก็รับรู้ได้ถึงวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
ที่มีความรุนแรงอย่างมาก เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 ขึ้น ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า
มุมมองความมั่นคงแบบเก่าไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ความท้าทายใหม่ ๆ ได้ เพราะ
ความมั่นคงแบบใหม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาวะและการร่วมมือกันของหลายฝ่าย ดังนั้น มุมมอง
ของคนในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและความท้าทายใหม่ ๆ
ที่เกิดขึ้น เพื่อตอบโต้สถานการณ์และลดทอนผลกระทบจากวิกฤตเหล่านั้น
ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมต้องสร้างสำนึกและจินตภาพใหม่ร่วมกัน กล่าวคือ
ต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางแล้วทำให้สิ่งแวดล้อมพังทลาย เปลี่ยนเป็น
ยึดธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งการจัดการกับสิ่งแวดล้อมต้องให้ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม
ตามแนวทางประชาธิปไตย ให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นให้ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนทั้ง
การจัดการและการใช้ประโยชน์ มิใช่การวางแผนและตัดสินใจมาจากส่วนกลางเท่านั้น
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่
ต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายลงไปมาก การค้าสัตว์ป่า ขยะ ภัยแล้ง อุทกภัย รวมไปถึงไฟป่าที่เป็น
ปัญหาระหว่างประเทศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาเดิมยังคงมีอยู่และยังไม่ได้รับการแก้ไข
ขณะที่ปัญหาใหม่ ๆ ที่ท้าทายและแก้ไขได้ยากก็เกิดขึ้นตามมา เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ สิ่งที่เกิดขึ้นเห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 แต่สถานการณ์ทั่วโลกก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะ ประเทศไทยมีขยะประมาณ
ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย
28 ล้านตันต่อปี แต่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ทั้งหมด และมีส่วนที่เหลือที่ไหลลงสู่แม่น้ำและ
ทะเล พลาสติก 1 ชิ้นจะย่อยสลายต้องใช้เวลา 450 ปี กลายเป็นไมโครพลาสติกที่อยู่ในทะเล