Page 181 - kpiebook66030
P. 181
สรุปการประชุมวิชาการ 1 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรฒม์
ความท้าทายของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ กล่าวคือ ความเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และความเหลื่อมล้ำ
ในการเข้าถึงทรัพยากร ปัญหาเหล่านี้เป็นผลมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างและการจัดการ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกรวนที่เรากำลังเผชิญอยู่ ถ้าไม่สามารถ
จัดการได้ นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า จะเกิดการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งที่ 6 ซึ่งรวมถึง
พวกเราทุกคนในที่นี้ แม้ว่าเรามีกฎกติการะหว่างประเทศที่ใช้รับมือกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ของโลก แต่สิ่งที่ทุกประเทศดำเนินการไปยังคงไม่เพียงพอ
ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมกับประชาธิปไตย กล่าวคือ การรับมือ
กับความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นเรื่องภาวะโลกรวนควรเป็นไปแนวทางประชาธิปไตย
เชิงนิเวศหรือประชาธิปไตยสีเขียว ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ทาง
การเมืองสำหรับประเด็นสิ่งแวดล้อมที่นอกเหนือจากโครงสร้างที่เป็นทางการ แต่รวมไปถึง
ภาคประชาชน บนฐานคิดของธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Governance)
อีกทั้งการจัดอันดับ The Climate hange Performance Index ชี้ให้เห็นว่า ความเป็น
ประชาธิปไตยเป็นปัจจัยที่นำไปสู่นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทิศทาง
ที่ถูกต้อง เพราะความเป็นประชาธิปไตยจะทำให้มีสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่รองรับกับ
การดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) เช่น การกำกับดูแล การทำให้เกิด
ธุรกิจหรือนวัตกรรมและแนวทางแก้ปัญหาที่รองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบ
คาร์บอนต่ำ (low carbon economy)
อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในวันนี้มีข้อจำกัดในการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในขอบเขตอาณาเขตดินแดน แต่เชื่อมโยงกับปัญหาที่อยู่
นอกขอบเขตอธิปไตยของประเทศ รวมไปถึงประเด็นในแง่ความเป็นธรรมในเชิงระบบนิเวศ
ความเป็นธรรมระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ความเป็นธรรมระหว่าง
รุ่นพวกเรากับรุ่นที่จะมีชีวิตอยู่จริงใน ค.ศ. 2100 ความเป็นธรรมระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับ
ภาคเกษตร
ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงหรือสร้างระบบโครงสร้างและเครื่องมือในการรับมือกับ
ความท้าทายใหม่จากความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม คือ การปรับรื้อระบบโครงสร้างและเครื่องมือ
ที่มีอยู่ ทั้งคณะกรรมการระดับชาติที่มีภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ
ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่กำกับการใช้อำนาจของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ
การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยเชิงนิเวศและประชาธิปไตยสีเขียว นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริม
ภาคประชาชนให้เป็น green active citizen ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้งการร่วมคิด การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
ร่วมปรึกษาหารือ ร่วมตัดสินใจ และร่วมประเมิน