Page 175 - kpiebook66030
P. 175
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
กลับมีความเหลื่อมล้ำมาก มีความไม่เท่าเทียมอยู่มาก บรรจุในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ถ้าท่านได้ตามข่าวว่า มีคุณหมอท่านหนึ่งทะเลาะกับผู้ป่วยว่า มารักษาแบบจ่ายเงินไม่ได้มา
รักษาแบบ 30 บาท หมายความว่า 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นสำหรับผู้ด้อยโอกาสจะไม่ได้รับ
บริการที่มีคุณภาพ เรามีความท้าทายในความเท่าเทียมกัน เป็นโอกาสสำคัญของ
พรรคการเมืองในการเสนอนโยบายที่ดีด้านสุขภาพ ในระบบหลักประกันฯ ได้จัดให้เด็กทุกคน
ที่สายตาสั้นได้แว่น ได้คุยกับ กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ให้ได้เพียง
2,000 อัน ทำไมไม่สามารถทำได้ เราให้สิทธิ แต่ปัญหาคือคนไม่ได้สิทธิ เราบอกเป็นมะเร็ง
ไปรักษาที่ไหนก็ได้ แต่พอไปรักษาที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แจ้งว่าท่านต้องไปรับ
ใบส่งตัว นี่คือปัญหาความท้าทายของระบบ ยกตัวอย่างในอังกฤษ อเล็กซ์เฟอร์กูสัน
อดีตผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นโรคหัวใจ มีเงินเยอะ แต่เขาศรัทธาในระบบ
จะเข้าไปรักษา โรงพยาบาลของรัฐ ก็ไปรักษาตัว ผ่าตัดหัวใจ เป็นที่เรียบร้อย
รศ. ดร.ภูเบศ สมุทรจักร
ตอนแรกพูดถึงประเด็น reverse brain drain ได้ทุนจากงานวิจัย ปิดทองหลังพระ
ทำเรื่องการฟื้นตัวของภาคประชาชนในช่วงโควิด โอกาสของ reverse brain drain ถ้าเกิดขึ้น
จริง จะเกิดการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยในท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้ ถ้าหากคนที่มีความรู้
กลับคืนถิ่น จะมีทั้งแรงงานและสมอง ประเทศไทย เพื่อใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้มีแนว
โน้มดึงคนวัยแรงงานและมันสมองชนบทเข้ามาสู่พื้นที่ในเมืองมากขึ้น เห็นปรากฎการณ์โควิด
ระลอกแรก คนเริ่มมองเห็นโอกาส กลับไปแล้วผืนดินนั้น ที่ดินที่ถูกทิ้งร้าง เพราะ ครอบครัว
ทำไม่ไหว ตนเองเข้ามาเรียน ทำงาน สร้างครอบครัวในเมือง คำว่า reverse brain drain
ในสมัยก่อน จะใช้กับคนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศ เรียนแล้วไม่กลับมาเมืองไทย ถ้าคนกลุ่มนี้
กลับไปรองรับการสร้างงาน สร้างโครงการ เป็น startup ทำให้เขาอยู่ได้ในชนบท ดูแล
ใกล้ครอบครัว แล้วคุณภาพของคนเหล่านี้ ที่ได้กลับไปอยู่ในกลไกท้องถิ่นแล้ว จะเป็น
การเรียกร้องที่คม เป็นประชาธิปไตยที่สมัยใหม่มากขึ้น เป็นการกระจายอำนาจที่เป็นรูปธรรม
และเป็นความหวังมาก เมื่อโควิดเข้ามา เป็นเหมือนโอกาส เหมือนเป็นการจุดพลุแล้ง
พอแสงพลุกำลังมอดลง แล้วเราคว้าแสงนั้นไว้ไม่ทัน คือ โควิดจบเร็วกว่าที่คิด แต่ after shock
อาจจะเหลืออยู่บ้าง แต่โอกาสนี้น่าเสียดาย เรื่องที่สอง เป็น Care story ของคุณแสง
ทำการวิจัยกับ ILO พี่แสงอายุ 64 ปี เป็นสาวโสด ก่อนลาออกจากงาน ไปดูแลคุณพ่อที่ป่วย
เป็นไตเรื้อรังและติดเตียง พี่แสงทำงาน เป็นหัวหน้าโรงงานทอผ้า จังหวัดสมุทรปราการ
คุณแสงมีพี่น้อง 10 คน ลงความเห็นให้พี่แสงออกจากงาน เพื่อไปดูแลพ่อ เพราะงานพี่แสง
ไม่มั่นคงที่สุด คนอื่นมีครอบครัวแล้ว และมีงานอย่างอื่นทำ พอดีช่วงนั้นเกิดโควิด พี่แสงก็กลับ
ไปดูแลพ่อ ก็ได้ใช้ความรู้เดิมที่เคยดูแลแม่ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งติดเตียง ปรากฎว่า พี่น้อง
10 คน มีบางคนที่ช่วยค่าใช้จ่ายเป็นเพียงค่าอุปกรณ์ ค่ายาพ่อ แต่ไม่ได้มีรายได้ในส่วนของ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
พี่แสงที่หายไป พี่แสงจึงต้องทำสวนควบคู่ไปด้วย เพื่อเลี้ยงดูตัวเอง อยู่มาอย่างนั้นปีหนึ่ง