Page 160 - kpiebook66030
P. 160
สรุปการประชุมวิชาการ
1 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
เรียกว่า ครัวเรือนข้ามรุ่น หมายถึง เด็กอยู่กับพ่อ หรือ กับแม่ หรือมาจากการหย่าร้าง
หรืออยู่ในรูปแบบ ไม่ได้หย่าร้าง เนื่องจากสามี ภรรยา ต้องทำงานต่างที่กัน เสาร์ อาทิตย์
ได้มาเจอกัน ส่งผลให้เด็ก ต้องอยู่กับใคร คนใด คนหนึ่ง ไม่ได้อยู่พร้อมหน้ากัน มีแนวโน้ม
ที่สูงขึ้น 8.9 % ในปี พ.ศ. 2553 ในอีก 20 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-11 ส่วนครอบครัว
ข้ามรุ่น เด็กอยู่กับปู่ย่า ตายาย เช่น สามี ภรรยา เข้ามาทำงานในเมืองมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ในเมืองมีทรัพยากรเยอะมาก ดึงดูดคนเข้ามาทำงาน ในประเทศจีน เกิดปัญหา เด็กเฝ้าบ้าน
มีผลอย่างมากกับความยากจนที่เกิดขึ้นกับเด็กการขาดทรัพยากร กรณีอย่าร้าง ไม่ได้รับ
การอบรมสั่งสอน ความอบอุ่นในครอบครัวในอนาคตจะมีเด็กอยู่ในครอบครัว ในอนาคตจะมี
เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ไม่พร้อมหน้ามีเกือบสองล้านคน ในอดีตที่มีจำนวนน้อยเป็น
ปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วง เด็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นแรงงานรับผิดชอบสังคมได้อย่างไร
ความเปราะปรางของครัวเรือนผู้สูงอายุแบบลำพังคนเดียวในปี พ.ศ. 2554 มีร้อยละ 17
ใน 20 ปีข้างหน้าจะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 40 ถ้าเป็นผู้สูงอายุในเขตเมืองน่าเป็นห่วงในชนบทยังมี
ทุนทางสังคมที่คอยประคับประคองให้สามารถช่วยเหลือ เช่น บ้านใกล้เรือนเคียงในชนบทมี
บ้านใกล้ที่เป็นพี่น้องกัน แต่อยู่ในเมืองทุนทางสังคมจะเข้าไปช่วยเหลือได้น้อยมาก นคราภิวัฒน์
การขยายตัวเมืองเติบโตขึ้นร้อยละ 52 ในเขตพื้นที่เมือง จากการศึกษาพบว่า จำนวนลูกไม่ได้
อยู่กับพ่อแม่มีแนวโน้มสูงมากมีประชาชนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่ไม่มีลูกจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 3.5 ในปี พ.ศ. 2537 เป็นร้อยละ 8.5 มีอัตราเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในอนาคตอีกไม่ถึง
20 ปี จะมีผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกคอยดูแลมากขึ้น หมายถึงว่าท่านที่มีอายุ 40-50 ปี ทั้งหมดนี้
ส่งผลถึงการซัพพอตภายในครัวเรือน แต่เดิมวัฒนธรรมที่คอยเกื้อหนุน สามีภรรยามีลูกยังฝาก
ลูกกับพ่อแม่ที่อยู่อายุ 50-60 ปี ในอดีตยังมีความแข็งแรงที่ดูแลลูกได้ พอปู่ย่าตายายแก่ลง
เด็กก็เติบโตพอที่จะช่วยดูแลปู่ย่าตายายต่อได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นการชะลอการแต่งงาน ครอบครัว
วัยแต่งงานที่ต้องดูแลลูกเล็กที่พร้อมดูแลปู่ย่าที่อายุสูงมาก ๆ เราเริ่มพบเห็นมากยิ่งขึ้น เกิดเป็น
ความยากลำบากในการพึ่งพากันในครอบครัว เราสามารถจ้างคนดูแลได้ แต่เงินออมของคนใน
ครอบครัวไม่ได้มากนัก โอกาสจึงเกิดขึ้นได้น้อยมากในสังคมไทย ค่าใช้จ่ายในการดูแลใน
การจ้างคนมาดูแล มีค่าใช้จ่ายสูง มีงานวิจัยที่ออกมาเล่าให้ฟังเรื่องการกลับบ้านของคุณหนุ่ม
เป็นเด็กบ้านนอกเรียนดี สอบเป็นวิศวกรในมหาวิทยาลัยชื่อดัง เรียนจบได้งานที่ดี บริษัทของ
ญี่ปุ่น เป็นความหวังและพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรง แต่งงานมีภรรยา มีลูก 2 คน ช่วงเกิดโควิด
คุณหนุ่ม บริษัทของคุณหนุ่มอนุญาตให้ WFH ได้จึงเก็บของกลับไป WFH ที่บ้านนอก
เขาทำงานจากเถียงนา เอาคอมไปทำงานสามารถใช้เวลากับพ่อแม่ กลับไปหาเพื่อนเก่าวัยเด็ก
สามารถทำงานกับคนในชุมชนได้ เขาสามารถใช้ชีวิตแบบนี้ได้ เริ่มสำรวจทรัพย์ที่สามารถ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 ในท้องถิ่น การเปิดรับความคิดของคนรุ่นเก่าในท้องถิ่น เป็นการพัฒนาในเศรษฐกิจฐานราก
นำมาต่อยอดได้สามารถผลิตและใช้กลไกในตลาดดิจิตัล แนวคิดนี้มีอุปสรรคกระจายอำนาจ
ในที่สุดโควิดก็ซาลง โอกาสที่เกิดก็หายไปคุณหนุ่มกลับมากรุงเทพและกลับบ้านเฉพาะช่วง
เทศกาล