Page 157 - kpiebook66030
P. 157
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
งบประมาณเพื่อดูแลประชาชน แต่หมายรวมถึง การสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ เป็น 1 ใน 7
ของความมั่นคงทางสังคม ซึ่งทางสังคมที่พูดถึง คือ ความเท่าเทียมและความเท่ากัน คือ
รัฐเป็นคนจัดกระบะให้กับทุกคน แต่ทุกคนจะไม่สามารถดูฟุตบอลได้ แต่ถ้านำกระบะที่ 3
อันเท่ากัน แต่ให้คนที่ตัวเตี้ยที่สุด เขาก็จะได้ดูด้วย นั่นหมายความว่า Equality กับ Equity
ไม่เหมือนกัน จำได้ว่าเคยไปดูงานที่อังกฤษ ไปดูหน่วยงานที่เรียกว่า National Health Service
คล้าย สปสช. ของเรา ถามว่า อยากให้อธิบายถึงความเท่าเทียมให้ฟัง เพราะเข้าใจว่าประเทศ
อังกฤษน่าจะเป็นต้นแบบของความเท่าเทียม ในรอบ 10 ปี มีคนไปดูงาน คำถามนี้เป็นคำถาม
ที่ดีที่สุดว่า อะไรคือความหมายของความเท่าเทียม ในช่วง 20 ปี ในบ้านเรามีการถกเถียง
มากว่า ประเทศเราจะสร้างความเท่าเทียมในด้านสุขภาพ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้าให้กับประชาชนทุกคนหรือเราควรมุ่งเน้นไปที่คนยากจนเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2545
รัฐบาลได้ตัดสินใจขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือให้ทุกคน ตอนนี้ยังเถียงกัน
ไม่จบว่า จะเฉพาะคนยากจนหรือให้ทุกคน แต่ในความหมายของความเท่าเทียมคือ ใครที่มี
ความจำเป็นที่ต่างกันรัฐต้องสนับสนุนที่ต่างกัน ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องได้เหมือนกัน
แม้เราใช้คำว่าถ้วนหน้าก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องได้ถ้วนหน้า สตรีที่ต้องการตรวจมะเร็ง
ปากมดลูกก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายต้องไปตรวจมะเร็งปากมดลูก เรื่องนี้ยังเป็นข้อถกเถียง
แม้ในประเทศที่เป็นต้นแบบของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า อะไรคือความเท่าเทียม
หรือ ความเท่ากัน ในประเทศไทย การขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพ เราใช้ปรัชญาที่
ท่านประเวศกล่าวว่า เวลาที่เราทำงานที่ยากๆ ถ้าท่านจะขับเคลื่อนนโยบายใด ๆ ต้องใช้ความรู้
ในการขับเคลื่อนงาน เรื่องสังคม เรื่องการเมือง ที่ต้องร่วมขับเคลื่อนถ้าไม่มี 3 ปัจจัยนี้
ท่านทำงานยาก ๆ ไม่ได้ เรื่องหลักประกันฯ ทั่วโลกมอง 3 เรื่อง ว่าประเทศใดที่จะบรรลุเรื่อง
หลักประกันฯ นั้น มองจาก 1) การเงินการคลัง รับภาระได้แค่ไหน 2) จะนำเงินมาใช้
ด้านสุขภาพได้เท่าใด กับ 3) ประชาชนรับภาระได้เท่าใด ถ้าประชาชนรับภาระมากจะเกิด
ปรากฏการณ์ล้มละลายด้านสุขภาพ ยากจนจากการเจ็บป่วย คือ สิ้นเนื้อประดาตัว จากการ
เอาเงินเก็บทั้งชีวิตมารักษาตัวเอง ทั่งโลกคุยกันว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิดภาพนี้ มันไม่ควรมีใคร
ต้องเจอสภาพนี้ว่า สิ้นชีวิตไปแล้วยังเป็นภาระให้ลูกหลาน มีภาระหนี้สินให้ลูกหลานต้องชดใช้
นี่คือหลักปรัชญาของระบบหลักประกันฯ เราต้องคิดถึงสิทธิประโยชน์กับประชาชน ให้เขาทราบว่า
มีสิทธินี้ในการรับบริการตรงนี้ เรื่องการรักษาพยาบาลหัวใจ ไต เรื้อรัง มะเร็ง แล้วแต่ละ
ประเทศจะตัดสินใจกับคำว่าถ้วนหน้าว่า ท่านจะให้กับทุกคนหรือไม่ ถ้าท่านจะให้ทุกคนมีสิทธิ
ปี พ.ศ. 2545 เป็นปีที่รัฐบาลให้คำนึงถึงสิทธิไม่ใช่แค่ใครคนหนึ่งที่ต้องไปสงเคราะห์เมื่อมี
การเจ็บป่วย ตอนนี้เป็นหลักสากลถูกบรรจุใน UN เมื่อปี 2012 คำว่า หลักประกันฯ ปรากฏ
ใน UN วันที่ 12 เดือน 12 ปี 2012 ในปี พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาที่ UN
ซึ่งประเทศไทยโดดเด่นที่มีระบบหลักประกันฯ และมีผลลัพธ์ที่ดี ส่วนการขับเคลื่อนการสร้าง
หลักประกันฯ เราดู 3 เรื่อง เราอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานยังไม่สามารถบอกได้ว่ามันยั่งยืน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ว่าเราจะยกเลิกระบบหรือไม่ เป็นภาระกับรัฐบาลเกินไปหรือไม่ โอบาม่าเคยบอกว่าจะล้มอะไร
ถ้าในวันนี้ระบบหลักประกันฯ ไม่สามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนได้มันล้มได้ไม่ยาก