Page 158 - kpiebook66030
P. 158

สรุปการประชุมวิชาการ
     1   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           การดำเนินงานในปัจจุบัน เราต้องดูเสมอว่าเราสร้างระบบหลักประกันฯ เราต้องดูว่าเราจ่ายเงิน
           อย่างไรให้คุ้มค่า ทำอย่างไรให้คุ้มค่า ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่มีความจำเป็น
           และไม่ให้ล้มละลายในการรักษาตัว โดยให้บริการใหม่ๆ ในทุกระบบถ้าบริการไม่มีประสิทธิภาพ
           แล้วก็จะไม่ยั่งยืน ประชาชนพึงพอใจหรือไม่ มีคุณภาพหรือไม่ ในแง่ของการเมืองจะขับเคลื่อน

           ระบบหลักประกันฯ ส่วนใหญ่มักจะเกิดวิกฤตก่อน ประเทศอังกฤษ ปี พ.ศ. 2491
           หลังสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคแรงงานที่นำสนอนโยบายหลักประกันฯ เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น
           หลังเกิดสงครามนิวเคลียร์อย่างหนัก เกิดวิกฤต นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศใช้ระบบ

           หลักประกันฯ โดยลอกเลียนแบบจากอเมริกา แต่อเมริกาทำไม่ได้ ญี่ปุ่นมีระบบหลักประกันฯ
           ที่เข้มแข็ง และมีผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก เชื่อว่าเป็นเพราะระบบหลักประกันฯ
           เราต้องใช้องค์ความรู้ เช่น ท่านต้องดูว่าประชาชนจะสนับสนุนหรือไม่ ต้องดูว่ายั่งยืนหรือไม่
           กราฟ GDP ในประเทศไทยอยู่ที่ 1,900 ดอลลาร์ต่อคน ซึ่งต่ำมากกระทั่ง World Bank เข้ามา
           ช่วยศึกษาว่า ไม่น่าไปรอด แต่ไทยตัดสินใจว่าจะทำ แสดงว่า ในช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาส

           ซึ่งตอนเลือกตั้งน่าจะเป็นโอกาสที่สำคัญที่สุด ท่านต้องอ่านประวัติศาสตร์ว่า เกิดวิกฤต
           จะสามารถใช้ระบบหลักประกันฯ ได้อย่างประสบผลสำเร็จ เรามีสิทธิราชการ ประกันสังคม
           แต่มีส่วนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิอะไรเลย จึงสร้าง พ.ร.บ.ขึ้นมา บอกว่าอันนี้จะรวมคนที่ไม่มีสิทธิใด ๆ

           หลักของมันคือรวมสิทธิที่คนอื่นไม่มีมาใช้สิทธิตรงนี้ ทุกคนมีสิทธิ การสร้างความยั่งยืนต้อง
           ศึกษาพฤติกรรมของประชาชน หลังโควิดพฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนไป เราใช้เงินอย่างมี
           ประสิทธิภาพ สมัยก่อนเราเจ็บป่วยไปรักษา รับยากลับบ้าน แต่สมัยนี้ไปโรงพยาบาลแล้ว
           กลับบ้านไม่ต้องรับยา เวลารับยาใช้เวลานาน ห้องแล็ปบริการจะเปลี่ยนใหม่ อนาคตจะเป็น
           การตรวจแบบผ่านแอพลิเคชั่น คุยกับหมอเอายามาให้ที่บ้าน ในเอกชนไปตรวจแล็ปที่บ้าน

           เราทดลองนำร่องที่โคราชได้ผลดี เช่น รับยาที่ร้านยา โรคง่ายรับยาที่บ้าน หรือใกล้บ้านใน
           รูปแบบใหม่ ๆ จะทำให้ค่ารักษาถูกลง ไม่ต้องไปเอายาที่โรงพยาบาล บริการที่โรงพยาบาล
           จะลดลงเรื่อย ๆ มีทฤษฎีว่า โรงพยาบาลที่ทำอยู่ทุกวันนี้ จะล่มสลายเพราะแบกต้นทุนอุปกรณ์

           ไม่ไหว ต้องให้บริการแบบชุมชน ดูกันเอง ชาวบ้านดูกันเอง เริ่มดูแลตัวเองแบบ self-care
           เป็นการเสริมสร้าง สุขภาพมากกว่ารักษา การตรวจเพื่อป้องกันโรค โดยการซื้ออุปกรณ์
           ตรวจโรคด้วยตนเอง วันนี้ ใครเป็นมะเร็งเต้านม ไปตรวจหายีนส์มะเร็งรูปแบบจะเปลี่ยนไป
           จะมีเทคโนโลยีราคาถูก มาช่วยสาธารณสุขได้ เช่น ใช้ไลน์โทรศัพท์คุยกับหมอ โดยใช้
           เทคโนโลยีใหม่ ทำให้เกิดบริการที่ราคาถูกลง ไม่ว่าจะเป็นบริการ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

           จะพลิกโฉมสาธารณสุข เราจะใช้เงินน้อยลง เป็นการสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ การเงินก็จะ
           เปลี่ยนไป ช่วงโควิด เราจ่ายเงินโดยใช้แอปเป๋าตัง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ที่ง่ายที่สุด
    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งพบว่า ประเทศไทยจัดเป็นระบบหลักประกันฯ ที่ดี เป็นความฝัน
           ระบบก็เปลี่ยนไป หลักประกันสุขภาพมุ่งเป้าไปสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืนครอบคลุม



           ที่สามารถซื้อได้ เพราะเด็กตายลดลง แม่ตายลดลง 2 ตัวนี้เป็นตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จของ
           ระบบ หลักประกันฯ ธนาคารโลก เสนอว่า 1) ให้มองเป็นเรื่องการลงทุน ไม่ใช่เรื่องค่าใช้จ่าย
           เพราะคนสุขภาพดี จะผลิตรายได้ให้ประเทศได้ เราพบว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทย
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163