Page 155 - kpiebook66030
P. 155
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ร้อยละ 74.9 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เรื่องความอยู่ดีมีสุขของคนไทย มีคะแนน 5.9 มากขึ้นจาก
ปีก่อนเล็กน้อย เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าคะแนน 0.65 ดีกว่าปีก่อนหน้าเล็กน้อย
ความเท่าเทียมความเสมอภาคทางสังคม มีคะแนน 70.9 เป็นอันดับที่ 71 ของโลก ดีกว่า
ปีก่อนเล็กน้อย ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน ดัชนีชี้วัด เท่ากับ
45.4 ลดลงจากปีก่อน ประสิทธิภาพของการจัดการ การเข้าถึง การให้บริการภาครัฐ ดัชนีชี้วัด
44.8 นี่คือภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง เรามีแผนแม่บท 23 ข้อ ถ้าที่เกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคง มีถึง 13 ข้อ หัวข้อที่ 3 สถานการณ์ความมั่นคงของประเทศ ในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัด
ความสุขของประชากรไทย อันดับที่ 53 คงที่จากปี 62 เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต
และทรัพย์สิน มีเหตุการณ์ทางใต้ เกิดเหตุความรุนแรงเพิ่มขึ้น เรื่องยาเสพติด ยังมีปัญหาอยู่
ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ ปัญหาการค้ามนุษย์ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต อุตสาหกรรม
ทางการแพทย์ ระบบขนส่งสาธารณะ เรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เรื่องการพัฒนา ทุกช่วงวัย
อย่างสมดุล ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่องความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุยังเป็นปัญหาอยู่มาก เพราะเราจะมีคนแก่เพิ่มขึ้น
เรื่อย ๆ ในขณะที่เด็กเกิดน้อย เรื่องคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ปี 64 ประเทศไทยมีอันดับด้านการศึกษาที่ 56 ขยับลดลงจากอันดับที่ 55 ในปีที่แล้ว เรื่อง
พลังทางสังคม มีดัชนีชี้วัดทุนทางสังคม วัดจากองค์กรชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น เรื่องเศรษฐกิจ
ฐานราก ซึ่งเราต้องลงไปที่เศรษฐกิจฐานราก เรื่องคนพิการ เรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เรื่องการวิจัยและการพัฒนา
นวัตกรรม ไตรมาสที่ 2 ของ ปี 65 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.1 อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.37
หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น 3.6 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 50.6 การบริโภคเหล้าบุหรี่
คดีอาญา อยู่ที่ 22.3 การรับแจ้งอุบัติเหตุลดลง 27.4 การคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ในอนาคต
ข้างหน้าเรามีความท้าทาย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยี เรื่องโครงสร้างประชากร
เรื่องการขยายตัวของเมือง เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
เรื่องพลังงงานหมุนเวียน เรื่องเหล่านี้กระทบประเทศไทยแน่นอน ประเทศไทยมีปัญหาทั้งใน
และนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ เรื่องโครงสร้างผู้สูงอายุ เรื่อง
เศรษฐกิจสังคม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง เรื่องกระแสโลกาภิวัตน์ของศูนย์รวม
อำนาจของโลกตะวันตก ภาวะโลกร้อน ปัญหาน้ำมันจากรัสเซีย ยูเครน เรื่องความเป็นเมือง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 13 ปี พ.ศ. 2566-2570 ประกาศในราชกิจจาฯ
เรียบร้อยแล้ว ในแผนฯ 13 นี้มีความเสี่ยงเรื่องการปฏิบัติทางเทคโนโลยี ลดการเกิดก๊าซ
เรือนกระจก เรื่องสังคมสูงวัย เรื่องความขัดแย้งในชาติพันธุ์ เป็นภาวะความเสี่ยง บริบทของ
โควิด 19 มีความเปลี่ยนแปลงของสังคมดิจิตัล เรื่องปัญหาแรงงานนอกระบบ เรื่องภาวะ
การเรียนรู้ออนไลน์ที่คนไม่พร้อม เรื่องจำนวนคนยากจนเพิ่มขึ้น เรื่องจากจัดเก็บรายได้ของ
ภาครัฐ ภาษีเก็บได้น้อยลง ข้อสังเกตและแนวทางการรับมือ แผนฯ 13 ต้องเน้นให้เกิด การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ความเสมอภาคทางสังคมที่ครอบคลุมเหมาะสมกับคนทุกเพศทุกกลุ่ม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลง
ของสังคมสูงวัยโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมทางกายภาพทางสังคมให้เป็นพลังสังคม แน่นอนว่า