Page 159 - kpiebook66030
P. 159

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             อยู่ที่ 4% อเมริกา 17% อังกฤษ 10% เรามีตัวเลขต่ำมาก OECD มาดูว่า ทำไมตัวเลขต่ำ
             แต่ผลลัพธ์ดี 2) ทำอย่างไรให้บริการ สุขภาพ เข้าถึงง่ายคุณภาพดี ราคาถูก โรคอุบัติใหม่
             เป็นโอกาสของเรา สร้างนวัตกรรมใหม่ สังคมผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้คนติดเตียงติดบ้าน
             น้อยที่สุด ค่าใช้จ่ายจะไม่เกิด ความเหลื่อมล้ำลดลง


             รศ. ดร.ภูเบศ สมุทรจักร

                   ผมขอพูดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
             ครัวเรือน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเปราะบางขึ้น ทุกท่านมาจากหลายครอบครัว

             การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้กลไกที่เคยมีในอดีตที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยดูแลกันเอง
             ได้อ่อนแอลง ในเรื่องประชาธิปไตยและการกระจายอำนาจ ความมั่นคงมีศัพท์มาจากคำว่า
             security ถ้าเราถามประชาชนในคำว่า security ประชาชนจะตอบยาก ในภาษาไทย มันคือ
             ความรู้สึกหวาดกลัวหรือไม่มั่นใจ ถ้าเราถามใหม่ว่าวันนี้ เรารู้สึกหวั่นใจเรื่องอะไรบ้าง หรือ

             เรารู้สึกไม่มั่นใจ หรือเราหวาดกลัวเรื่องอะไรบ้าง นั่นคือ ความมั่นคงหรือความไม่มั่นคงทาง
             สังคม ที่ประชาชนกำลังรู้สึกอยู่ ความมั่นคงจะแบ่งออกเป็นการจับต้องได้ มีสวัสดิการ บำนาญ
             30บาทรักษาทุกโรค ความมั่นคงอย่างมีนัยยะภายในจิตใจ ทางความรู้สึกที่วัดไม่ได้ บางที
             เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากร เรื่องอัตราเกิดที่มีแนวโน้มลดลง เราจะมี

             ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2573 อีก 10 ปีข้างหน้า จะอยู่ตัว มีประชากร 67 ล้านคน
             เราจะไม่มีวัน เห็นประชากรไทย ถึง 70 ล้านคน หลังจากนั้นเราจะมีจำนวนประชากรลดลง
             เมื่อประมาน 40 ปีที่แล้ว เรามีจำนวนประชากร 45 ล้านคน เฉลี่ย 1 ครัวเรือน 5 คน
             มีหลาย generation อยู่รวมกัน นั่นคือ ปู่ ย่า ตา ยาย สามี ภรรยา และมีลูก ต่อมา

             ปี พ.ศ. 2563 มีประชากร 66 ล้านคน ต่อจากนี้ ครัวเรือน จะมีประชากรไม่สูง รูปแบบการ
             อยู่อาศัย ของครัวเรือนจะเปลี่ยนไป ไม่ใช่เฉพาะไซส์บ้านที่มีขนาดลดลง เช่น การอาศัยอยู่ในอ
             พาทเมนท์ ขนาดครอบครัวก็จะมีขนาดเล็กลงมากขึ้น กิจกรรม ลักษณะของใช้ การเป็นอยู่
             เปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบจากการขยายความเป็นเมืองที่ขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศไทย

             มีการพัฒนาชนบท 50-60 % ตอนนี้ มีคนอยู่ในชนบท 40-50% การย้ายถิ่นอาศัย อยู่ชนบท
             เข้าเมืองเล็กสู่เมืองใหญ่ ประชากรในครอบครัว มีการพลัดพรากของครอบครัวตนเองมากขึ้น
             ข้อมูลจากอนาคตศึกษา ครอบครัวไทย อีก 20 ปี เราจะมีข้อมูลคาดการณ์ของประชากรใหม่
             ที่มีการเปลี่ยนแปลง ในครอบครัวไทย มีลักษณะครัวเรือนที่มีความเปราะบางสูงมากขึ้น

             มี 2 ลักษณะ ครัวเรือนที่ พ่อ แม่ ลูก อยู่ด้วยกันมีแนวโน้มลดลงรวดเร็วมาก เดิม 53.6%
             ปี พ.ศ. 2563 ของครัวเรือนลดลงมา ร้อยละ 30 อีก 20 ปีข้างหน้า ลดลงอีก 20% ในครัวเรือน
             ที่มีเฉพาะ สามี ภรรยา โดยไม่มีลูกเพิ่มขึ้นจากอดีตที่มี 4.5 % ของปี พ.ศ. 2553 ในปัจจุบัน
             ร้อยละ 14 % และจะเพิ่มอีก ร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2583 ครัวเรือน เฉพาะสามี ภรรยา

             อยู่กันลำพัง ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาววัยแรงงาน จากนั้น นับไปอีก 20-30 ปี พอครอบครัวเหล่านี้   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
             ไปสู่ครอบครัวสูงอายุ 60-80 ปี ที่ต้องการการพึ่งพิง การดูแล ครอบครัวเหล่านี้ จะมี
             ความยากลำบากเพิ่มขึ้น มีการแสดงครอบครัวที่น่าเป็นห่วง เฉพาะพ่อคนเดียว แม่คนเดียว
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164