Page 82 - kpiebook66013
P. 82
เมื่อรายงานฉบับนี้มุ่งเน้นก�าหนดประเด็นที่กฎหมายแรงงานไทยควรได้รับ
การพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้ตัวบทกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องสอดรับ
กับนโยบายของรัฐในระดับต่างๆ ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานสากล และ
สามารถน�าไปบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพแท้จริง ดังนี้แล้ว
ผู้เขียนรายงานจึงขอแสดงผลการศึกษาวิเคราะห์ออกเป็นข้อๆ โดยมีองค์ประกอบ
การแสดงผลการศึกษาดังนี้
1. แสดงประเด็นของข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
โดยจะแสดงไว้เป็นตัวอักษรหนา มีเลขก�ากับหน้าข้อ (ก�ากับเพื่อ
ประโยชน์ต่อการอ้างอิงและการใช้งาน)
2 แสดงค�าอธิบายโดยสังเขปประกอบประเด็นในข้อที่ 1) พร้อมทั้ง
แสดงการประเมินค่าคะแนน เพื่อชี้วัดว่าประเด็นปัญหาดังกล่าว
เป็นเรื่องเร่งด่วนหรือสามารถรั้งไว้ทบทวนให้รอบคอบก่อนได้
ประเด็นที่ 1 การตรากฎหมายรับรองเรื่องความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ
ทางแรงงานที่ยังไม่สมบูรณ์ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญ และตามความในอนุสัญญา
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 111
นับแต่ ค.ศ. 2016 ที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญา
ฉบับที่ 111 จากนั้น 12 เดือนประเทศไทยมีพันธะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
และแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้องกับเนื้อหาในอนุสัญญา แต่ปรากฏกระทั่ง
ปัจจุบันว่า หลักแห่งความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติก็ยังคงไม่สมบูรณ์นัก
ในบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทย ดังปรากฏกรณีศึกษาที่ได้ยกไว้ในหัวข้อที่ 1
ดังนี้จึงควรแก้ไขความในมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ตลอดจนจ�าต้องบัญญัติหลักเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดหางาน
และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ด้วย จึงจะถือว่าครบถ้วน ทว่า กฎหมายจัดหา
งานของไทยมีเนื้อหาเน้นที่การควบคุมส�านักงานและบริษัทจัดหางานเป็นส�าคัญ
จึงอาจท�าให้เกิดปัญหาว่าบทบัญญัติที่รับรองหลักการไม่เลือกปฏิบัติควรน�าไป
82 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่