Page 52 - kpiebook66012
P. 52
แต่ประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังไม่มีกฎหมายที่รองรับธุรกรรมในการซื้อขาย
สินค้าทางออนไลน์หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม
โดยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ในประเทศไทยเองมีประชาชนใช้บริการแพลตฟอร์ม
ออนไลน์มากยิ่งขึ้นในทุกๆ ปี ท�าให้ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาจากการใช้งาน
แพลตฟอร์มก็มีจ�านวนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไม่ตรงกับค�าโฆษณา
มีการหลอกลวงในการโอนเงิน การใช้อัลกอริทึมในการบิดเบือนข้อมูล หรือ
การโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงการที่ผู้ใช้บริการถูกน�าข้อมูล
จากแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ทราบหรือให้ค�ายินยอมมาก่อน
ด้วยเหตุนี้หากมีการใช้งานแพลตฟอร์มในลักษณะดังกล่าว จึงต้องอาศัยหลักกฎหมาย
ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่างๆ ที่ควบคุมเป็นกรณีไป เช่น หลักกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องการซื้อขาย กฎหมายคุ้มครอง
การขายออนไลน์และสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และหลักการประกอบธุรกิจออนไลน์
เป็นต้น
แต่เมื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม
ในต่างประเทศแล้วจะเห็นว่า สหภาพยุโรปได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มีขนาดใหญ่ เช่น Facebook
Google Instagram และ Twitter เห็นว่ากฎหมายเดิมที่มีอยู่นั้นไม่ครอบคลุมถึง
การก�ากับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากก่อนที่สหภาพยุโรป
จะริเริ่มการร่างพระราชบัญญัติบริการดิจิทัล (Digital Service Act, DSA)
ในอดีตสหภาพยุโรปนั้นใช้พระราชบัญญัติอีคอมเมิร์ซ EU E-Commerce
Directive 2000/31/EC ในการควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มมาก่อน ซึ่งถูกน�า
มาใช้ในปี พ.ศ. 2543 ที่เป็นกรอบกฎหมายหลักส�าหรับการให้บริการดิจิทัล
ในสหภาพยุโรปที่เป็นรากฐานที่ส�าคัญส�าหรับการควบคุมบริการดิจิทัลในตลาด
ของยุโรป แต่เนื่องจากบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลได้กลายเป็นปัจจัยความส�าคัญ
ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และผู้ประกอบธุรกิจหลายรายเลือกใช้
52 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล