Page 47 - kpiebook66012
P. 47
4.4 สถานการณ์การใช้กฎหมายในการก�ากับดูแลธุรกิจ
แพลตฟอร์มดิจิทัลในปัจจุบัน
จากอดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยแม้มีกฎหมายมาดูแลก็อาจจะยัง
ไม่ครอบคลุมในประเด็นที่จ�าเป็น โดยเฉพาะการมีข้อมูลที่จ�าเป็นเกี่ยวกับการก�ากับ
ดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งการดูแลคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งในด้าน
การให้ข้อมูลที่จ�าเป็นเพื่อดูแลความโปร่งใสและเป็นธรรม และการมีมาตรการชดใช้
เยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการ อีกทั้งบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
มีทั้งผู้ให้บริการอยู่ในประเทศไทยและในต่างประเทศ ท�าให้พบอุปสรรคในด้านต่าง ๆ
เช่น การติดต่อประสานงาน การแจ้งข้อร้องเรียนต่าง ๆ ไปยังผู้ประกอบธุรกิจ
บริการแพลตฟอร์ม การติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการชดใช้เยียวยาความเสียหาย
ที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งหากยกตัวอย่างจากข้างต้นอาจเป็นกรณีที่มีการท�าธุรกรรม
ระหว่างนาย A ซึ่งมีสินค้าแล้วอัพโหลดสินค้าขึ้นไปขายบนเว็บไซต์ของตนฝ่ายหนึ่ง
กับมีลูกค้าอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีการพูดคุยและซื้อขายสินค้ากันบนแพลตฟอร์ม
ดังกล่าว กรณีนี้จะเห็นได้ว่าไม่มี “สื่อกลาง” ที่ให้บริการสื่อกลางทางอิเล็กทรอนิกส์
ที่ท�าการบริหารจัดการข้อมูลที่แยกออกต่างหากจากผู้ประกอบการ ตามตัวอย่าง
นาย A เป็นบุคคลคนเดียวกับเจ้าของแพลตฟอร์มซึ่งก็คือเว็บไซต์ที่อัพโหลดสินค้า
ลักษณะนี้จึงไม่ถือเป็น “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ตามนิยามที่กฎหมายก�าหนดไว้
ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นแล้ว สิ่งที่จะท�าให้การใช้บริการ
แพลตฟอร์มดิจิทัลด�าเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย จึงมีความจ�าเป็น
ที่จะต้องมีกฎหมายมาก�ากับดูแล อีกทั้งผู้เกี่ยวข้อง (ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ใช้บริการ
แพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้บริโภคและประชาชน
ทั่วไป และหน่วยงานของรัฐ) กับการประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลยังได้รับ
ปัญหาผลกระทบมากมายที่กฎหมายในปัจจุบันของประเทศไทยนั้นไม่สามารถ
คลอบคลุมถึงเนื้อหาหรือประเด็นปัญหากฎหมายที่ส�าคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
แพลตฟอร์มดิจิทัลได้ ซึ่งกรณีปัญหาของกฎหมายในปัจจุบันกับการประกอบธุรกิจ
47