Page 364 - kpiebook65063
P. 364
“...ตอนนั้นเราเลยตกลงกันว่าให้มีเวทีต่อรองเป็นรอบ ๆ ไป และทุกบ่อ
ขายราคาเท่ากันเอา...”
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
นอกจากนั้นปัญหาการใช้งานอุปกรณ์ของแต่ละหมู่บ้านกล่าวคือเนื่องจากอุปกรณ์ที่แต่ละ
หมู่บ้านมีเพียง 1-2 ชุดแต่เมื่อเกิดปลาน๊อคน้ำเป็นสถานการณ์ที่บ่อปลาหลายแห่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ
กันทำให้อุปกรณ์ไม่เพียงพอ รวมทั้งในบางครั้งผู้ที่ยืมอุปกรณ์ไปไม่ได้มีการนำมาคืนที่จุดเดิม ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
หรือเมื่อเอามาคืนก็ไม่พร้อมใช้งานไม่ว่าจะเป็นการที่อุปกรณ์ชำรุด หรือแม้แต่การไม่เติมน้ำมัน
ไว้ในอุปกรณ์ดังนั้นทางคณะทำงานจึงมีการเชิญเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเข้าร่วมประชุมเพื่อที่จะทำ
ข้อตกลงรวมถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวซึ่งในปี 2564 มีโครงการ
1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวและเป็น
มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลสันกลาง ทำให้เริ่มมีการทำอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนราคาถูก
ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล สามารถประดิษฐ์ไว้ใช้เองในบ่อของตนเองได้ และใช้อุปกรณ์ในหมู่บ้าน
สำหรับคนที่ไม่มีกำลังทรัพย์หรือกรณีที่เกิดปลาน๊อคน้ำอย่างรุนแรงและไม่สามารถจัดการตนเอง
ได้ในบ่อ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ไว้ที่สำนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง เพื่อเป็น
ศูนย์เรียนรู้ที่อยู่ในพื้นที่เมื่อกรณีโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยสิ้นสุดลง และทางคณะทำงาน
เกษตรกรและมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนายังมีการแก้ไขปัญหาในเรื่องของการป้องกันไฟช็อต
ไฟรั่วเมื่อมีการใช้เครื่องเพิ่มออกซิเจน โดยการจัดทำอุปกรณ์กล่องกันน้ำฝนใส่ปลั๊กไฟอีกด้วย
“...ตอนเอาไปมีน้ำมันเต็ม พอตอนเอามาคืนน้ำมันไม่มี ทำให้เอาไปใช้ไม่ได้
ปลาตายหมดเลย...”
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
“...บางทีพอไปถึงหน้าบ่อ มอเตอร์เสียทำอะไรไม่ได้ ไม่รู้เหมือนกันจะพูด
ยังไงดี... บางทีไปถึงอุปกรณ์ไม่อยู่ ไม่เซ็นชื่อด้วยเลยไม่รู้จะไปตามที่ใคร...”
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง
“...เครื่องของอาจารย์อันใหม่ดีนะ เปิ้ลทำให้สามารถเพิ่มออกซิเจนได้ดี
กว่าเดิม... เคลื่อนย้ายง่ายกว่า”
ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลตำบลสันกลาง
สถาบันพระปกเกล้า