Page 369 - kpiebook65063
P. 369

ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายของโครงการสถานีกู้ชีพปลา

                 ความท้าทายหรือปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับโครงการแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยใน
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   แบบมีหลักวิชาการ การสื่อสารทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง รวมถึง
           ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแรกที่เริ่มโครงการ ซึ่งความท้าทายสำคัญคือการสร้างความเข้าใจและ
           ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงปลาจากการทำตามประสบการณ์หรือความเคยชินมาสู่การเลี้ยงปลา



           การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยเหลือเมื่อเกิดปลาน็อคน้ำ  ซึ่งในปี 2563 อุปกรณ์ได้ถูกพัฒนา
           ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปติดตั้งที่แต่ละหมู่บ้าน แต่ก็เกิดประเด็นของ

           การใช้อุปกรณ์ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการคืนอุปกรณ์ หรือการทำให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพที่พร้อม
           ในการใช้งานอยู่เสมอ จนเป็นความท้าทายของคณะทำงานที่จะทำอย่างไรให้เกษตรทำตาม

           กฎกติกาที่กำหนดร่วมกันไว้ ซึ่งเมื่อมีการพูดคุยกันทุกหมู่บ้านและมีการจัดทำระบบทะเบียนและ
           การดูแลควบคุมของคณะทำงาน ทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาด
           ของ COVID 19 เป็นความท้าทายใหม่ในปี พ.ศ. 2564 คือการที่ผู้รับซื้อปลาไม่มารับซื้อปลา

           หน้าบ่อ ถึงแม้ว่าจะเคยมีการทำข้อตกลงกันไว้ก่อนแล้ว เพราะผู้รับซื้อไม่สามารถที่จะนำไป
           ขายต่อได้เพราะต้นทุนสุงกว่าเจ้าอื่น ดังนั้นการจัดเวทีกลางจึงเป็นทางออกสำหรับความท้าทาย

           ดังกล่าว
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 ปัจจัยความสำเร็จของของโครงการสถานีกู้ชีพปลาที่สำคัญคือวัฒนธรรมในการทำงาน

           ร่วมกันคนในพื้นที่ตำบลสันกลางที่เป็นแบบเครือข่ายจิตอาสา เนื่องจากสถานีกู้ชีพปลา
           เป็นนวัตกรรมที่เกิดเป็นลำดับที่ 7 โดยนวัตกรรมสถานีเกษตร วิถีพอเพียง เป็นนวัตกรรมที่เกิด
           การสร้างการทำงานร่วมกันแบบจิตอาสาตั้งแต่การบูรณาการของส่วนราชการด้านการเกษตร

           ไม่ว่าจะเป็น ได้แก่ ศูนย์บริหารและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์บริหารจัดการศัตรูพืช
           ชุมชน ศูนย์จัดการดินและปุยชุมชนโดยรวบรวมเอาภารกิจของแต่ละศูนย์มาทํางานภายใต้

           แนวทางเดียวกัน รวมถึงการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
           ในการลดใช้สารเคมีร่วมกันและใช้เชื้อราในการกำจัดศัตรูพืช จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการ
           การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งในระดับส่วนราชการในพื้นที่ และกลุ่มเกษตรกร นอกจากนั้น

           ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางยังเน้นย้ำความสำคัญของการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย
           และการทำงานร่วมกันโดยการทำจัดทำนวัตกรรมสันกลางอาหารปลอดภัย เป็นการต่อยอด

           เมื่อลดการใช้สารเคมีโดยการทำปุยน้ำหมักร่วมกัน การตรวจประเมินภาวะเสี่ยงสารพิษตกค้าง
           ในโลหิตกลุ่มเกษตรกรตําบลสันกลาง การส่งเสริมให้เกิดการบริโภคอาหารปลอดภัย และการส่งเสริม
           การผลิตส่งเสริมให้เกษตรกรทําการเกษตรโดยใช้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural

           Practice) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตรที่สามารถควบคุมระบบการผลิต




               สถาบันพระปกเกล้า
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374