Page 368 - kpiebook65063
P. 368
การดำเนินงานของนวัตกรรมในระยะที่ 3 แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยที่
ขั้นตอนที่ 1 เน้นการปรับปรุงเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการป้องกันไฟรั่ว
ที่บ่อปลาเมื่อเกิดภาวะฝนตก ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ล้านนาผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย รวมทั้งในการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว
ยังมีการขยายกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณออกซิเจนในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อหา
แนวทางป้องกันให้เกิดความเสียหายน้อยลง และขั้นตอนที่ 2 เป็นการใช้แผนที่ภาษีร่วมกับ
การเก็บข้อมูลของเกษตรกรเลี้ยงปลาเพื่อใช้เป็นข้อมูลแจ้งที่อยู่ของเกษตรกรทำให้สามารถเข้าถึง
พื้นที่ได้โดยใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด รวมถึงการขยายเครือข่ายอาสากู้ชีพปลาในแต่ละหมู่บ้าน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ให้มีเพิ่มมากขึ้น โดยทั้งแกนนำของหมู่บ้านและแกนนำของชมรมผู้เลี้ยงปลาเข้ามาร่วมรณรงค์กับ
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางเพื่อทำให้เครือข่ายมีทั้งจำนวนและกระจายตัวในพื้นที่ให้
มากที่สุดเพื่อลดระยะเวลาในการเข้าช่วยเหลือ โดยเมื่อดำเนินโครงการแล้วทางองค์การบริหาร
ส่วนตำบลสันกลางและเครือข่ายในสถานีกู้ชีพปลายังได้มีการถอดบทเรียนความสำเร็จถึง
หลักการทำงานร่วมกันของคนสันกลางคือ Model 5S 1) Social mind จิตอาสา 2) Save fish
ช่วยปลารอด 3) Smiley farmer เกษตรกรยิ้มได้ 4) Save environment ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
5) Sufficiency economy น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ดังแสดงในแผนภาพที่ 7
แผนภาพแสดง Model 5S for : สถานีกู้ชีพปลา องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ที่มา: องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง (2563)
สถาบันพระปกเกล้า