Page 359 - kpiebook65063
P. 359

รูปภาพอีเอ็มบอล “EM Ball”




     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19














                       “...จากข้อมูลที่ได้เราเลยตัดสินใจที่จะขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย

                 เพื่อเข้ามาช่วยเกษตกร...”
                                            ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลตำบลสันกลาง



                       “...การมีบุคคลที่มีความรู้เฉพาะด้านการเกษตรเข้ามาช่วยเหลือก็จะทำให้

                 เกษตรกรมีต้นทุนน้อยลง...”
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                                                   รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง



                       “...บอลอีเอ็มทำให้น้ำเสียน้อยลง อบต.กับมหาลัยเค้าเข้ามาสอน ทำให้เฮา

                 สามารถที่จะลดต้นทุนอาหารได้”
                                                         เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง



                 กล่าวโดยสรุปในการดำเนินงานนวัตกรรมในระยะที่ 1 มีขั้นตอนในการดำเนินการ

           3 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งมาจากทั้งภาคส่วนของ
           ประชาชน เกษตรกร จิตอาสา และองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง เพื่อให้คณะกรรมการ

           ดำเนินการแก้ไขปัญหาในภาพรวมของตำบลโดยคณะกรรมการมีการจัดการประชุมเพื่อหาสาเหตุ
           ของปลาน็อคน้ำและแนวทางการแก้ไขปัญหาปลาน็อคน้ำร่วมกัน  ขั้นตอนที่ 2 การหาภาคี
           เครือข่ายเข้ามาหนุนเสริมการแก้ไขโดยมีการร่วมมือสถาบันการศึกษาในการทำบอล EM เพื่อลด

           ปริมาณอาหารที่เหลือ เพื่อให้น้ำเสียได้ช้าลง ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจน
           จากประสบการณ์และองค์ความรู้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและชมรมผู้เลี้ยงปลาร่วมกับจิตอาสา

           และสถานีเกษตรพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือ
           เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาได้ในเบื้องต้น



               สถาบันพระปกเกล้า
   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364