Page 358 - kpiebook65063
P. 358
ดังกล่าวไปปิดกั้นออกซิเจนในน้ำ นอกจากนั้นจากข้อมูลที่ทางคณะทำงานได้รับ ยังสะท้อน
ให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการเลี้ยงดูปลานิลเป็นการดูแลตามประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอด
รุ่นต่อรุ่น และผ่านการลองผิดลองถูก
“...เกษตรกรบ้านเราทำตามเคยชินที่เคยทำมา...”
ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลตำบลสันกลาง
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้คณะทำงานเล็งเห็นว่าการมีความรู้ทางวิชาการเป็นสิ่งที่มี ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ความจำเป็นในการทำให้สามารถที่จะลดความเสี่ยงในการที่เกิดปลาน็อคน้ำได้ นอกจากนั้น
ยังทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาของอาหารปลานิล ดังนั้น
จึงมีการทำข้อตกลงร่วมกันขององค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง กลุ่มผู้เลี้ยงปลานิล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เพื่อนำใช้องค์ความรู้ทางวิชาการและ
ต่อยอดจากสถานีเกษตรพอเพียงในการผลิตอีเอ็มบอล “EM Ball”เพื่อทำให้น้ำมีปริมาณ
ออกซิเจนมากขึ้น จากการช่วยย่อยเศษอาหารปลาในบ่อให้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังร่วมกัน
ผลิตอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อปลามีภาวะปลาน็อคน้ำ โดยได้นำเครื่องดังกล่าวติดตั้งไว้ที่
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางเพื่อเป็นอุปกรณ์ของหน่วยเคลื่อนที่เร็วเมื่อเกษตรกรแจ้งเข้ามา
ผ่านกลุ่มไลน์ และการจับพิกัดบ่อปลาเพื่อทำให้สามารถไปถึงบ่อปลาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้
ยังมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วนำโดยทีมโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลฝ่ายต่าง ๆ
และรับสมัครอาสาพิทักษ์ปลา
รูปภาพการติดตั้งอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อปลามีภาวะปลาน็อคน้ำ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
สถาบันพระปกเกล้า