Page 360 - kpiebook65063
P. 360
การดำเนินการนวัตกรรมในระยะที่สอง (พ.ศ. 2563) แม้ว่าจะมีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาแต่อุปกรณ์มีเพียง 2 ชุดซึ่งไม่เพียงพอและอุปกรณ์ดังกล่าวยังเก็บไว้ที่
สำนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ทำให้ไม่สามารถไปถึงบ่อเลี้ยงปลาได้ทัน
ซึ่งถ้าหากมีอุปกรณ์ติดตั้งในแต่ละชุมชนจะทำให้สามารถให้การช่วยเหลือได้ดีกว่า ดังนั้น
คณะทำงานจึงมีการประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมีการหารือร่วมกันกับมหาวิทยาลัย
ราชมงคลล้านนา เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้มากขึ้น นอกจากนั้น
ยังมีการวางแผนและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัด
คุณภาพน้ำ การกำจัดศัตรูปลาและการปรับสภาพแวดล้อมสภาพน้ำให้เหมาะสม ซึ่งภายหลังจาก ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีอุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือไว้ที่หมู่บ้านละ 1 ชุด โดยมี
การยืมคืนเมื่อเกษตรกรต้องใช้งานและเอามาคืนเมื่อมีการใช้งานเสร็จ แต่ทั้งนี้ในแต่ละหมู่บ้าน
ยังคงมีอาสาพิทักษ์ปลาเพื่อช่วยเหลือในแต่ละหมู่บ้าน แต่คณะทำงานยังคงหาทางออกให้กับ
ปริมาณปลาที่ตายจากการน็อคน้ำโดยมีการอบรมเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิล
เช่น การทำปลาส้ม เป็นต้น
“...จะคิดแค่ช่วยปลาอย่างเดียวไม่ได้ เพราะสภาพภูมิอากาศเป็นอะไรที่คุม
ไม่ได้ ดังนั้นการเอาปลาที่ตายมาขายได้จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้...”
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
“...มีเครื่องอยู่ตามหมู่บ้านช่วยเกษตรกรได้เพิ่มขึ้นเยอะ คนในหมู่บ้านมาเป็น
อาสาก็เยอะขึ้นด้วยทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น..”
ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลตำบลสันกลาง
“...ตั้งแต่อาจารย์เปิ้ลมาสอนแปรรูป ก่ค่อยยังชั่วขึ้น พอมีรายได้บ้าง...” ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง
“...เครื่องอันใหม่มันก่ดีอยู่นะ ทำให้ปลารอดมากขึ้น...”
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง
“เปิ้ลสอนหมู่เฮาให้วัดค่าน้ำ ก่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ปลาตายได้...”
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตำบลสันกลาง
สถาบันพระปกเกล้า 9