Page 267 - kpiebook65063
P. 267

แผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่มากกว่าภารกิจด้านอื่น และการขับเคลื่อน

           ในทางปฏิบัติ นอกจากการกำหนดนโยบายแล้ว นายกฯ ยังแสดงให้บุคลากรในเทศบาลเห็นถึง
           ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการผ่านการสื่อสารภายในองค์กรทั้งในลักษณะที่เป็น
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ตำแหน่งต่อเนื่องมาถึง 4 สมัย จึงทำให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบายที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
           ทางการและไม่เป็นทางการสม่ำเสมอ ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง

                 ประการที่สอง ความต่อเนื่องของนโยบาย ด้วยการนำของนายกเทศมนตรีคนเดิมที่ดำรง



           คนในชุมชนท้องถิ่นทุกกลุ่มหรือนโยบาย “ชาวเกาะคาไม่ทอดทิ้งกัน” เทศบาลตำบลเกาะคา
           ได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี โดยเริ่มต้นการดำเนินงานกับกลุ่มเด็กก่อน

           เป็นกลุ่มแรก จากนั้นจึงขยายผลไปสู่กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการในที่สุด ดังนั้นความต่อเนื่อง
           ของนโยบายจึงทำให้เทศบาลตำบลเกาะคาสามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร

           ได้เรื่อยมาจนกระทั่งครอบคลุมทุกกลุ่ม

                 ประการที่สาม การทำงานบนฐานข้อมูล ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

           เทศบาลตำบลเกาะคามีการสำรวจ รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการอย่างเป็นระบบ
           โดยข้อมูลผู้พิการมาจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชนและข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลชุมชน
           เพื่อมุ่งสู่ท้องถิ่นสุขภาวะ (TCNAP) ซึ่งได้มีการจัดเก็บและรวบรวมเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           ดังนั้นเทศบาลตำบลเกาะคามีข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการเชิงประจักษ์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
           ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ในพื้นที่ สภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นของผู้พิการ

           รายบุคคล ตลอดจนความต้องการและความจำเป็นของครัวเรือนและชุมชนที่มีผู้พิการอาศัยอยู่
           เทศบาลตำบลเกาะคาจึงสามารถวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ
           ได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์ผล ประสบผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย


                 ประการที่สี่ การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมกับเทศบาล
           ตำบลเกาะคาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อสำรวจและ
           เก็บข้อมูลของผู้พิการ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทาง

           ในการแก้ไขปัญหาผ่านเวทีข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด การเป็นผู้นำในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น
           และระดมความเห็นหรือเรียกว่า “นักวิจัยชุมชน” การเป็นจิตอาสาในการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ

           และการเข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกันไม่ให้ผู้พิการเพิ่มขึ้นและการดูแลผู้พิการ ดังนั้นประชาชน
           จึงรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของชุมชนและปัญหา และให้ความร่วมมือหรือเข้ามามีส่วนร่วม
           ในการดำเนินงานตามกำลังความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความยั่งยืน

           ตลอดจนชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพและความเข้มแข็ง






        2      สถาบันพระปกเกล้า
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272