Page 113 - kpiebook65062
P. 113

พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์



                         พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นโครงการก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ตามพระราชดำริว่า
                   พระอุโบสถหลังเดิมซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ มีสภาพทรุดโทรมจึงรื้อลง และ การคงค้างมาจนถึงรัชกาล
                   ที่ ๗ ในพ.ศ. ๒๔๗๑ หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ทูลขอให้สมเด็จ

                   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งได้ทูลขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ
                                                                                         ๘
                   กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงออกแบบอาคารขึ้นใหม่  เป็นพระอุโบสถ
                   ขนาดเล็ก มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดห้าห้อง ต่อมุขด้านหน้าเป็นทางเข้า มุขด้านหลังเป็นที่
                   ประดิษฐานพระประธาน มีประตูเข้าสู่ภายในอาคารสามด้านคือ ประตูหน้า ๑ ช่อง และประตูด้านข้าง
                   ๒ ช่อง หลังคาจั่วมีหลังคาปีกนกรอบ เพิ่มมุขประเจิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตรงกับมุขทางเข้าและ

                   มุขที่ประดิษฐานพระประธาน รูปทรงอาคารค่อนข้างทึบและเรียบง่าย ไม่ตกแต่งประดับประดาด้วย
                                                                                 ๙
                   เครื่องลำยอง เว้นแต่ส่วนไขราหน้าบันที่ทำเป็นลายกนกซิเมนต์หล่อเรียบๆ   สถาปนิกทรงสร้างความ
                   น่าสนใจในผนังภายนอกด้วยการถอยผนังระหว่างช่วงเสาเข้าไปให้เห็นแนวเสาและแนวคานเป็นสามมิติ
                   รอบอาคาร


                         เมื่อแบบขั้นต้นของพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จฯ กรมพระดำรง
                   ราชานุภาพแล้ว ก็โปรดให้ประทานแบบนั้นต่อไปยังสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ทรงจัดหาผู้รับเหมา
                   มาดำเนินการก่อสร้างตามแบบของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์นั้น โดยประทานแบบ

                                                                                                ๑๐
                   รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นลำดับมา จนถึงราวพ.ศ. ๒๔๗๕ การก่อสร้างจึงเรียบร้อยสมบูรณ์   ทั้งนี้
                   หนังสือโต้ตอบระหว่างสมเด็จฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์

                   และหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ ผู้อำนวยการศิลปากรสถานชี้ให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบ
                   อาคารหลังนี้สองประการ ประการแรก สถาปนิกทรงคำนึงถึงมิติทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน เพราะ
                   องค์พระประธาน คือพระพุทธรูปศิลาขาวนั้น เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนาสมัยทวารวดี

                   ที่มีการขุดพบและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงทรง
                   ออกแบบอาคาร โดยเฉพาะซุ้มที่ประดิษฐานพระประธาน ให้เรียบง่าย ใช้สีผนังด้านหลังขับเน้น

                   องค์พระให้โดดเด่น ส่วนที่ผนังพระอุโบสถด้านหลังพระประธานทรงออกแบบจารึกอักษรคาถา เย ธมฺมา
                   ด้วยตัวอักษรปัลลวะ ตามแบบจารึกสมัยทวารวดีที่ค้นพบในสมัยนั้น  ประการที่สอง ในการออกแบบ
                   รายละเอียดลวดบัว ใบเสมา ตลอดจนซุ้มพระประธานนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์

                   ทรงใช้ทั้งช่างฝรั่งและช่างไทยในศิลปากรสถาน ได้แก่พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) และนายคอร์ราโด
                   เฟโรจี (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี) โดยที่นายเฟโรจีเป็นผู้กำกับการจัดสร้างใบเสมาหินอ่อนรูป

                   ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งต้องสั่งทำจากประเทศอิตาลี ๑๑




             102     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118