Page 110 - kpiebook65062
P. 110

ศิลา มีเครื่องบูชาทำด้วยโลหะตั้งสองข้าง ทั้งหมดประดิษฐานบนเกยสูง ด้านหน้าเกยมีผ้าทิพย์เป็น
                      หินอ่อนจำหลักลาย เบื้องหลังพระบรมรูป “มีซุ้มจระนำสกัดหลังตั้งเป็นลับแล มีศิลาจารึกอยู่
                      ด้านหลัง”  ลับแลนี้ทรงออกแบบให้ช่วงกลางสูง ตีเส้นเซาะร่องทางนอนให้ดูหนักแน่นมั่นคง เว้าเข้าไป
                               ๖
                      เป็นซุ้มจรณัม ทำเสาแปดเหลี่ยมสองต้นรองรับคานทับหลังจำหลักลายเฟื่องอุบะที่เบื้องบน ตามแบบ
                      สถาปัตยกรรมขอม พื้นหลังซุ้มจรณัมกรุกระกระเบื้องโมเสคสีทองเพื่อขับให้องค์พระบรมรูปลอยเด่น

                      ที่ยอดลับแลมีซุ้ม ประดิษฐานพระราชลัญจกรอุณาโลม อันเป็นตราพระราชสัญลักษณ์  ด้านหน้า
                      พระบรมราชานุสาวรีย์มีลานกว้าง ตามแนวพระดำริแรกเริ่มในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติ
                      วงศ์ที่จะ “ทำรูปสนองพระองค์ตั้งในที่เปิดเผยให้เป็นสง่า” เป็นงานประติมากรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใน

                      พื้นที่โล่งที่สามารถรองรับการ “ประชุมกันถวายบังคมเป็นงานใหญ่ประจำปี” ได้มาจนทุกวันนี้
                      เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) แบบไทยผสมขอม

                      ที่ดูงดงามกลมกลืนไปกับเสาสะพานพระพุทธยอดฟ้าแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) ที่ออกแบบโดย
                      นายเอมิลิโอ ฟอร์โน (Emilio Forno) ตลอดจนการออกแบบภูมิทัศน์ถนนและลานหน้า
                      พระบรมราชานุสาวรีย์ ที่นายช่างของศิลปากรสถานเป็นผู้ออกแบบ กรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย

                      เป็นผู้ก่อสร้างตามแบบแปลน




































                                                                        แบบสะพานพระพุทธยอดฟ้า (พ.ศ. ๒๔๗๕).




                                                                                                            99
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115