Page 106 - kpiebook65062
P. 106
ตึกวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตึกวิทยาศาสตร์ หรือตึกขาว เป็นอาคารเรียนหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ก่อสร้างขึ้นโดยพระดำริในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์
ที่มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์ให้ทันสมัย โดยทรงประสานให้มูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์
ให้ความช่วยเหลือบุคลากร งบประมาณ ตลอดจนแนวทางในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์
พื้นฐาน ใน พ.ศ. ๒๔๖๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำเนินการสร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้น
โดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นสถาปนิก
และผู้ควบคุมการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้าง ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้วเสร็จในต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๒ มีงบประมาณ
การก่อสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๓
ตึกวิทยาศาสตร์ หรือตึกขาว เป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีชั้นใต้ดิน
ผังอาคารเป็นรูปตัวที (T) มีโถงทางเข้า โถงบันได และห้องบรรยายใหญ่ที่กลางอาคาร ที่ปลายอาคาร
ด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นห้องปฏิบัติการใหญ่ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง รวม ๔ ห้อง ใช้เป็น
ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมีอินทรีย์ และเคมีอนินทรีย์ ส่วนที่เหลือเป็นห้องทำงานและห้องพัก
อาจารย์ มีระเบียงทางเดินยาวตลอดอาคารด้านทิศใต้
อาคารหลังนี้มีประโยชน์ใช้สอยอย่างสมัยใหม่ ทว่ามีรูปแบบภายนอกที่เป็นแบบไทยประยุกต์
มีลักษณะเด่นที่การทำหลังคาจั่วผสมปั้นหยาขนาดใหญ่ พร้อมกันสาดรอบทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
มุงกระเบื้องเกล็ดเต่าแบบไทยสีดินเผาเรียบ ๆ หลังคานี้เป็นโครงสร้างไม้ วางซ้อนไปบนโครงหลังคา
แบนคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวอาคารมีการตกแต่งไม่มาก ช่องเปิดประตูหน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยมเรียบๆ
วางจังหวะให้ส่วนห้องปฏิบัติการดูแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ เล็กน้อย หน้าต่างแต่ละช่องแบ่งเป็นสองตอน
ตอนล่างเป็นบานกระทุ้งเข้าข้างใน ตอนบนแบ่งเป็นสามบานย่อย เปิดระบายอากาศได้สองบาน
เหนือขึ้นไปมีหน้าต่างช่องแสงขนาดเล็ก ทำเป็นซุ้มยอดแหลมแบบไทย
9