Page 101 - kpiebook65062
P. 101

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำริเรื่องความเป็นชาติยังให้
                   เกิดการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทยในสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในหอสวดและคณะต่าง ๆ

                   ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๕๔)  พลับพลาสนามจันทร์ (พ.ศ. ๒๔๕๕)
                   ตึกบัญชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๕๘)  วิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์
                   (พ.ศ. ๒๔๕๘)  พระที่นั่งวัชรีรมยา พระราชวังสนามจันทร์ (พ.ศ. ๒๔๖๐)  อุทกทาน (พ.ศ. ๒๔๖๐)

                   อนุสาวรีย์ทหารอาสา (พ.ศ. ๒๔๖๒)  ตึกเยาวมาลย์อุทิศ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ (พ.ศ. ๒๔๖๔) เป็นต้น
                   อาคารเหล่านี้บางหลังเป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณของสยามหลายๆ รูปแบบ

                   เข้าด้วยกันให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ บางหลังปรับใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่อย่างปูนซิเมนต์และ
                   คอนกรีตเสริมเหล็ก เข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ขณะที่บางหลังก็ยังคงทดลองแนวทาง
                   การออกแบบอาคารทรงไทยที่สูงสองชั้น ผิดแผกไปจากสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่นิยมทำอาคาร

                   ชั้นเดียวมีใต้ถุน การทดลองรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่เช่นนี้คงดำเนินต่อไปในรัชกาลพระบาท
                   สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอาคารสามประเภท คือ สถานศึกษา ศาสนสถาน และอนุสาวรีย์


                   หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัย



                         หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัย สร้างขึ้นตามดำริของพระยาปรีชานุศาสน์ (เสริญ
                   ปันยารชุน) ผู้บังคับการโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งได้พบนาฬิกาเรือนใหญ่ ผลิตในยุโรป ซึ่งเคยเป็น
                   นาฬิกาติดบนหอประชุมของราชวิทยาลัยมาก่อน จึงติดต่อผู้ผลิตให้แก้เป็นนาฬิกา ๔ หน้าปัด เพื่อติดตั้ง

                   บนหอนาฬิกาที่จะสร้างขึ้นบนเนินแห่งหนึ่งในบริเวณโรงเรียนต่อไป พระยาปรีชานุสาสน์จึงได้ขอให้
                   พระสาโรชรัตนนิมานก์ (สาโรช สุขยางค์) และหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมะจินดา) ร่วมกัน

                   ออกแบบหอนาฬิกาพร้อมระฆังรูปสี่เหลี่ยมมีลวดลายแบบสุโขทัย จะสร้างขึ้นที่บนเนินหลังสนามฟุตบอล
                                    ๑
                   ใกล้กึ่งกลางโรงเรียน  เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างหอระฆังและหอนาฬิกาใน พ.ศ. ๒๔๗๒ แล้ว
                   ทางโรงเรียนจึงว่าจ้างให้ยี่ห้อกวงฮ้องเส็ง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ด้วยงบประมาณ ๔,๙๐๐ บาท และให้

                   ห้างเอส.เอ.บี. ปรับแก้หน้าปัดนาฬิกาเป็นสี่ด้านพร้อมติดตั้ง ในงบประมาณ ๑,๗๕๐ บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ
                   และมีพิธีเปิดหอระฆังและหอนาฬิกา ในคราวที่รัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินมาในงานประจำปีของ

                   โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓

                         หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัยมีลักษณะเด่นที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีต

                   ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนฐานชั้นล่าง และส่วนหอชั้นบน ซึ่งออกแบบให้สูงกว่าส่วนฐาน
                   หอชั้นบนแขวนระฆังในส่วนที่เป็นซุ้ม ส่วนนาฬิกา ๔ หน้าปัดนั้นติดตั้งอยู่ที่หน้าบันซึ่งเป็นทรงกูบจตุรมุข
                   รับกับทรงกลมของหน้าปัดนาฬิกา ตกแต่งด้วยเครื่องลำยองซิเมนต์หล่อถอดพิมพ์ จึงมีการลดทอน

                   ลวดลายให้เหมาะกับวิธีและวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่  ที่ยอดประดับตราวชิราวุธทั้งสี่ด้าน



               90    สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106