Page 106 - kpiebook65057
P. 106
จากภาพที่ 2.1 แสดงให้เห็นถึงชั้นการวิเคราะห์ปรากฏิการณ์เชิงลึกหรือ
CLA ที่แบ่งออกเป็นสี่ระดับ คือ
1. Litany หมายถึงเหตุการณ์ที่มองเห็น แต่ขาดความปะติดปะต่อกัน เช่น
ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ (เป็นส่วนที่ผิวเผินมากที่สุดของภาพอนาคต)
2. Social causes ได้แก่เหตุแห่งปรากฏิการณ์นั้น เช่น ต้นเหตุในทาง
เทคโนโลยี ทางเศรษฐกิจ ทางสิ่งแวดล้อม หรือทางการเมือง
3. Discourse/Worldview คือโลกทรรศน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งอาจจะ
มาจากอุดมคติ (นี่เป็นกระบวนทัศน์ในระดับลึกของอารยธรรม)
4. Myth/Metaphor เทพนิยายปรัมปรา ตำนาน หรือความเชื่อลี้ลับที่อยู่
ใต้จิตสำนึก
CLA มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุและ
ผล Sohail Inayatullah (Inayatullah Sohail 2003, p.8 อ้างถึงในถวิลวดี บุรีกุล
และคณะ, 2564) ได้ศึกษาเรื่อง “Ageing: alternative futures and policy choices”
ใช้กระบวนการคิดเชิงมองอนาคตแบบ CLA เพื่อวิเคราะห์ สถานการณ์ผู้สูงอายุ
ที่เพิ่มมากขึ้นในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย โดยมีประเด็นที่ท้าทายคือ
วัฒนธรรมใหม่และเศรษฐกิจการเมืองในประเทศไทยมีการนำ CLA มาใช้วิเคราะห์
เพื่อมองอนาคตอยู่เช่นกัน เช่น การทบทวนวรรณกรรม กระบวนการมองอนาคต
ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบหลักประกันสุขภาพ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551)
ความยากของ CLA อยู่ที่การดำเนินการวิจัยที่ต้องเคลื่อนขึ้นลงชั้น
การวิเคราะห์ที่ลึกต่าง ๆ กันเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการทำความเข้าใจที่ครอบคลุม
ในหลายระดับที่แตกต่างกัน (Causal layered_analysis, ออนไลน์)
51