Page 111 - kpiebook65057
P. 111

ผูกพันต่อการมีส่วนร่วมได้นั้น อาจจะต้องทำการสร้างความตระหนักรู้โดยการ
             สร้างการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education) เพื่อสร้างพลเมือง
             ที่มีคุณภาพในสังคมประชาธิปไตย (democratic citizenship) ที่จะนำไปสู่การพัฒนา

             การเมืองภาคพลเมือง เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของความเป็น
             พลเมือง อาทิ หน้าที่ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การร้องเรียน

             หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นการทำผิดกฎหมาย การมีส่วนร่วมในการออก
             ข้อบัญญัติท้องถิ่นในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน (ทศพล สมพงษ์,
             2563) การเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาฐานทรัพยากรในชุมชน การใช้อำนานหน้าที่

             ของภาครัฐ การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ


                     การเมืองภาคพลเมืองเป็นส่วนสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             ตั้งแต่ พ.ศ.2540 และประชาชนไทยก็ให้ความตระหนักถึงเรื่องการมีส่วนร่วม

             ในการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น ดังปรากฏิในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญแห่ง

             ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งได้มีการขยายเพิ่มเติมเรื่องการเมือง ภาคประชาชน
             ให้มากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้


                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับ

             การเมืองภาคพลเมือง ดังนี้


                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิ
             และเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน

             เช่น


                           มาตรา 59      ส  ิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการรับฟื้ังความคิดเห็น
                                         ของประชาชน











                                               56
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116