Page 28 - kpiebook65043
P. 28

2    สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                  2) รูปแบบและแนวทางการกระจายอำนาจ การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง กลไกการใช้
                     อำนาจรัฐ และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ
                     ประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐที่เหมาะสมในภูมิทัศน์ใหม่บนความท้าทาย
                     ของภาวะวิกฤต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน


                  3) แนวทางการปฏิรูประบบและกลไกการบริหารงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
                     รวมทั้ง นวัตกรรมการมีส่วนร่วมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อสมรรถนะความเป็นพลเมือง
                     ในโลกยุคปัจจุบัน


           กลุ่มย่อยที่ 5
           ดุลยภาพระหว่างความมั่นคงของรัฐกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน


                 ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนถือเป็น
           หัวใจสำคัญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และรัฐจะจำกัดหรือล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพ
           บางประการของประชาชนได้ก็ต่อเมื่อเป็นเหตุผลเรื่อง “ความมั่นคงของรัฐ” ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่

           เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและความสงบเรียบร้อยของสังคม ทั้งนี้
           ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการให้น้ำหนักในเรื่องของสิทธิเสรีภาพเป็น
           อย่างมาก ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญของประเทศตะวันตกที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

           ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่วางหลักตลอดมาว่า รัฐจะจำกัดหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
           ประชาชนได้ต่อเมื่อเป็นไปเพื่อความมั่นคงของรัฐ และการจำกัดหรือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
           ดังกล่าวจะต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของ
           ประชาชนอย่างน้อยที่สุด ที่สำคัญแม้แต่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดเอง ก็ยังจะต้องได้รับ
           การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามหลักนิติกระบวน (due process of law) เป็นต้น


                 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ได้เกิดปัจจัยและเหตุการณ์สำคัญ
           หลายประการที่ทำให้มุมมองเรื่องความมั่นคงของรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
           เปลี่ยนแปลงไปจนส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ

           ในมิติของสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น กระแสโลกาภิวัตน์และความเจริญก้าวหน้าทาง
           เทคโนโลยีได้ส่งผลให้เกิดการตระหนักในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น
           เช่น สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารของรัฐ (right to be informed) เสรีภาพในการแสดง
           ความคิดเห็น (freedom of expression) หรือแม้แต่สิทธิส่วนบุคคลในเกือบทุกมิติ (privacy

           rights) เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากในหลายประเทศ แทบทุกภาคส่วนได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐ
           ต้องออกกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวให้แก่ประชาชน ขณะเดียวกัน
           ในมิติของความมั่นคงนั้น เหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ เช่น วิกฤตโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อ
           ความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การก่อการร้าย

           ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ เช่น
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33