Page 25 - kpiebook65043
P. 25

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23   25
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   จากสภาพการณ์ดังกล่าว จึงต้องสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น และ
             ร่วมกันออกแบบแนวทางในการจัดการที่เหมาะสม มีระบบที่โอบรับความแตกต่างหลากหลาย
             ได้อย่างพอเหมาะพอควร อันจะเป็นฐานสำคัญของการสร้างความชอบธรรมของสถาบันทาง
             การเมือง ฉะนั้นในห้องย่อยนี้ จึงเป็นการอภิปรายเพื่อหาคำตอบว่า สถาบันทางการเมืองภายใต้

             ความเปลี่ยนแปลงและบริบทใหม่ดังกล่าวนั้น จะมีแนวทางอย่างไรในการเพิ่มบทบาทของ
             พลเมืองให้เหมาะกับระดับความตื่นรู้ที่มากขึ้น และควรกำหนดโครงสร้างรวมทั้งกรอบการใช้
             อำนาจของสถาบันทางการเมืองอย่างไร เพื่อให้เกิดความชอบธรรม สามารถผสานประโยชน์

             ในความต้องการที่แตกต่างหลากหลายอย่างสอดคล้อง ตอบสนองต่อพลเมืองในบริบทของ
             ประชาธิปไตยที่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นไปที่สถาบันทางการเมืองทั้งในเชิงโครงสร้าง และ
             ในความเป็นจริง ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และองค์กรตรวจสอบที่ไม่ใช่ศาล

             ประเด็นสำคัญ


                    1) บทบาทและพื้นที่ของพลเมืองกับการใช้อำนาจสถาบันทางการเมืองทั้งในเชิง
                       โครงสร้าง และสถาบันทางการเมืองในความเป็นจริงที่เหมาะสม

                    2) การปรับตัวของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และองค์กรตรวจสอบที่ไม่ใช่ศาล
                       เพื่อให้เกิดการดำเนินนโยบายและการตรากฎหมายที่สอดคล้องกับความต้องการ

                       อันแตกต่าง หลากหลายของประชาชน

                    3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการใช้อำนาจของสถาบันทาง
                       การเมืองที่ชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับในสังคม


             กลุ่มย่อยที่ 3
             ตุลาการภิวัตน์ : อำนาจตุลาการในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการเมือง


                   ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
             ทรงเป็นประมุขใน พ.ศ. 2475 มาจนถึงก่อน พ.ศ. 2489 นั้น รัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้
             รัฐสภา (ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับแรกมีเพียงสภาผู้แทนราษฎร) เป็นองค์กรที่มีสิทธิขาดในการ

             ตีความรัฐธรรมนูญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือรัฐธรรมนูญออกแบบให้รัฐสภาสามารถตรวจสอบ
             ถ่วงดุลการกระทำทางรัฐบาลของฝ่ายบริหารได้และมีอำนาจตีความได้ว่าการกระทำของ
             ฝ่ายบริหารหรือการออกกฎหมายของตนเองชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ไม่ได้กำหนดกลไก

             ตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาเลย จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             พุทธศักราช 2489 ได้กำหนดให้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาควบคุมความชอบ
             ด้วยรัฐธรรมนูญของการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ และนับเป็นครั้งแรกที่เกิด
             ความเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์ในการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน
             ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ได้ตั้ง
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30