Page 24 - kpiebook65043
P. 24

24   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ประเด็นสำคัญ

                  1) ปรากฏการณ์ทางสังคมกับพรรคการเมือง


                  2) การปรับตัวของพรรคการเมืองกับการตอบสนองต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระบอบ
                     ประชาธิปไตย

                  3) การเมืองประชานิยมกับความท้าทายของพรรคการเมือง


                  4) การเมืองแบบประชานิยม และการเมืองมวลชนในฐานะภูมิทัศน์ใหม่ของการเมืองไทย
                     นำไปสู่อะไร?

           กลุ่มย่อยที่ 2

           ความชอบธรรมของสถาบันการเมืองท่ามกลางสภาวะผันผวนทางสังคม


                 ภายใต้สภาวะความผันผวนทางสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงภายใต้ปัจจัยต่าง ๆ
           อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจ
           แบบใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งหรือสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในชั่วข้ามคืน
           นวัตกรรมในการสื่อสารซึ่งส่งผลต่อการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างมาก ทั้งในด้าน

           เนื้อหาและปริมาณ ความแตกต่างของมุมมองในชีวิตและการแก้ปัญหาของคนต่างรุ่นที่เติบโต
           มาในสภาพสังคมที่ต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อทุกองคาพยพในสังคมให้มีการปรับตัวเพื่อ
           การดำรงอยู่ร่วมกันให้ได้

                 ในบริบทสังคมประชาธิปไตยของไทย ความผันผวนทางสังคมมีผลกระทบที่สำคัญต่อ

           โครงสร้างเชิงอำนาจและการใช้อำนาจของสถาบันการเมืองที่มีอยู่เดิม ปรากฎการณ์พลเมืองตื่นรู้
           (active citizen) ที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มากขึ้น ทำให้กลไกต่าง ๆ ไม่อาจตอบสนอง
           ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง อาทิ กลไกการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
           ด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่อาจเป็นจริงได้จากการครอบงำด้านเนื้อหาและกระบวนการ

           ทั้งนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านองค์กรตรวจสอบ
           ที่ไม่สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน รวมถึงการรวมกลุ่มของประชาชนที่เสนอแนวทางจัด
           ความสัมพันธ์ของสถาบันการเมืองในรูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างไปจากเดิม กลับไม่ได้รับ
           การตอบสนองในระดับที่น่าพอใจจากฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และองค์กรตรวจสอบที่ไม่ใช่ศาล

           ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถาบันทางการเมืองทั้งในเชิงโครงสร้างและในความเป็นจริง ทำให้ความขัดแย้ง
           ยังดำรงคงอยู่และรอเวลาที่จะทวีความรุนแรงขึ้น สภาพการณ์เช่นนี้ ย่อมสั่นคลอนฐานการใช้
           อำนาจของสถาบันทางการเมืองที่เป็นอยู่ ให้ต้องพบความยากลำบากในการอ้างความชอบธรรม
           จากชุดความสัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมในการจัดการปัญหาที่นำหน้าไปแล้ว ซึ่งผลของการตอบสนอง

           ดังกล่าวไม่เพียงแต่จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่กลับพบกับวิกฤตในการสร้าง
           การยอมรับจากสังคม
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29