Page 23 - kpiebook65043
P. 23

23




                                 กลุ่มย่อยที่ 1
                                 ปรากฏการณ์ทางสังคมกับความเปลี่ยนแปลงของ

                                 พรรคการเมือง


                                       ปรากฏการณ์ทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน เช่น
                                 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, การเกิดขึ้นของสื่อสังคมออนไลน์
                                 (social media), ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ (new social

                                 movement), หรือการเมืองแบบ “ประชานิยม” (populism) ได้ทำให้
                                 เกิดการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองแบบใหม่เกิดขึ้น เช่น พรรค
                                 Podemos ในสเปน หรือพรรค M5S ในอิตาลี ซึ่งเกิดขึ้นจากขบวนการ
                                 เคลื่อนไหวทางสังคมที่ต่อมาพัฒนาเป็นพรรคการเมืองโดยชูการเมือง
                                 แบบประชานิยมเป็นสำคัญ ปรากฏการณ์ทางสังคมเช่นว่านี้ ทำให้ภูมิทัศน์

                                 ของพรรคการเมืองในโลกเปลี่ยนแปลงไป พรรคการเมืองมิใช่เป็นแต่
                                 เพียงองค์กรพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวพันกับขบวนการ
                                 เคลื่อนไหวทางสังคมด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์ทาง

                                 สังคมที่กำลังเกิดขึ้นในโลกปัจจุบันไม่เพียงแต่ทำให้เกิดพรรคการเมือง
                                 รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็นความท้าทายต่อ
                                 พรรคการเมืองดั้งเดิมว่าจะสามารถดำรงอยู่และปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อ
                                 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไรในภูมิทัศน์ที่
                                 เปลี่ยนแปลงไป


                                       ในห้องย่อยนี้ จะเป็นการอภิปรายเรื่องปรากฏการณ์ทางสังคมกับ
                                 พรรคการเมืองในสองมิติ ได้แก่ 1. มิติด้านการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น
                                 พรรคการเมือง และการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเพื่อหา

                                 คำตอบว่า พรรคการเมืองจะต้องปรับตัวอย่างไรในภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไป
                                 เพื่อให้เป็นพรรคการเมืองที่ตอบสนองผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (voter)
                                 ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ในการปกครองในระบอบ
                                 ประชาธิปไตยได้ และ 2. การเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบ

                                 ที่มีอุดมการณ์แบบประชานิยมเป็นตัวนำ ทำให้ภูมิทัศน์ทางการเมือง
                                 เปลี่ยนไปอย่างไร ในทิศทางไหน และสอดคล้องกับความเป็น
                                 ประชาธิปไตยทั้งในระดับชาติและระดับสากลมากน้อยแค่ไหน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28