Page 274 - kpiebook65043
P. 274
2 4 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการในประเทศไทยสามารถสรุปปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึง
ยากลุ่ม Opioids ได้ดังนี้
(1) มีกฎหมายเป็นอุปสรรคในการการบริหารยา กล่าวคือ กฎหมายห้ามการยืม
ยากลุ่ม Opioids ระหว่างโรงพยาบาล เนื่องจากกฎหมายกำหนดหลักการว่า ห้ามจำหน่าย
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 นอกจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และกำหนดนิยาม
ของคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายถึงการยืมด้วย จากข้อกฎหมายดังกล่าวทำให้ในทางกฎหมาย
โรงพยาบาลไม่สามารถยืมยาระหว่างโรงพยาบาลได้ แต่ในทางปฏิบัติก็มีการยืมยากันอย่าง
แพร่หลาย เพราะยากลุ่ม Opioids มีข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเก็บ
ประกอบกับอายุการใช้งานของยาสั้นทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กจะไม่สำรองยาในคลังยา
แต่จะใช้วิธีการบริหารยาเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลโดยให้โรงพยาบาลแม่ข่ายที่เป็น
โรงพยาบาลขนาดใหญ่สำรองยาและแจกจ่ายยาไปยังโรงพยาบาลขนาดเล็ก
(2) บุคลากรด้านสุขภาพกังวลกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้ยาและ
มีทัศนคติที่ไม่ดีกับการใช้ยากลุ่ม Opioids เนื่องจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2535 ได้กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการใช้ เก็บรักษา ทำลายที่เข้มงวดมาก หากทำผิด
เงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอาจมีความผิดตามกฎหมายได้ นอกจากนั้นโรงพยาบาลหลายแห่ง
ยังออกแนวทางการปฏิบัติภายในที่เกินจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ห้ามนำยาออกนอก
โรงพยาบาล นอกจากนั้นบุคลากรด้านสุขภาพยังมีทัศนคติที่ว่าผู้ป่วยไม่ควรใช้ยากลุ่ม Opioids
มากเกินเพราะกลัวว่าผู้ป่วยจะติดยาทั้งที่ในหลายกรณีผู้ที่ใช้ยากลุ่ม Opipios เหล่านี้เป็นผู้ที่อยู่
ในวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว และในทางวิชาการมีเทคนิคและองค์ความรู้มากมายในการใช้ยา
กลุ่ม Opioids ให้เหมาะสมกับความปวดของผู้ป่วย ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุทำให้บุคลากรด้าน
สุขภาพมีแรงจูงใจที่จะไม่จ่ายยาให้ผู้ป่วย (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม และคณะ, 2555 :
นิภารัตน์ สวัสดิ์จู, 2555)
ดังนั้นในเรื่องนี้ควรแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ให้โรงพยาบาลยืมยาระหว่างโรงพยาบาลได้ รวมทั้งสร้างระบบการบริหารจัดการยาโดยนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมยากลุ่ม Opioids และสื่อสารองค์ความรู้ในเรื่อง
การใช้ยากลุ่ม Opioids แก่บุคลากรด้านสุขภาพทั่วประเทศ
5.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบการดูแลแบบประคับประคองยังไม่
เอื้ออำนวย หากพิจารณาจากกระบวนการการดูแลแบบประคับประคองซึ่งเริ่มตั้งแต่การวินิจฉัย
บทความที่ผ่านการพิจารณา โรคจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิตพบว่าจะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขเพื่อใช้
สำหรับการดูแลแบบประคับประคองโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
5.4.1 มีความเหลื่อมล้ำของชุดสิทธิประโยชน์ในเรื่องการดูแลแบบประคับ
ประคอง เมื่อพิจารณาเฉพาะเรื่องการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตและเรื่องการดูแล