Page 277 - kpiebook65043
P. 277

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  2
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนศพ เสียเวลาในการดำเนินการขั้นตอนทางธุรการ
             ทำให้ในหลายกรณีญาติไม่ยินยอมในนำผู้ป่วยกลับมาดูแลต่อและตายที่บ้านเพราะเกรงปัญหา
             ดังที่กล่าว


                     ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล และระหว่าง
             โรงพยาบาลและฝ่ายปกครองในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูลว่าผู้ป่วยขอกลับไปดูแลต่อและตายที่บ้าน
             โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
             และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร
             พ.ศ. 2534 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบการดูแลที่บ้าน เพิ่มอัตราการวางของเตียงในโรงพยาบาล

             และเป็นการสนับสนุนการดำเนินการตามความต้องการของผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกให้แก่ญาติ
             ในการที่ผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้สูงอายุขอกลับมาดูแลต่อและตายที่บ้าน

             6. สรุปและเสนอแนะ


                   จากการที่สังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังรุนแรงและรักษาไม่หาย
             เพิ่มมากขึ้น มีการขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น ตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับความตายในสังคม

             สมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เกินจำเป็น และ
             จากพัฒนาการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมไทยทำให้ประชาชนเข้ามามี
             ส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพของประเทศมากขึ้นเรื่อย ทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนา

             ระบบการดูแลแบบประคับประคองเพื่อรองรับกับความท้าทายดังกล่าว

                   การดูแลแบบประคับประคองเป็นการดูแลทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับมิติทางสังคม
             โดยจะเน้นไปที่การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้รับการดูแลมากกว่าจะเน้นเรื่องการรักษาให้โรค
             หายขาด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่สภาพร่างกายและ

             การดำเนินโรคจะเอื้ออำนวย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังตายอย่างสงบสมศักดิ์ศรี
             ความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการดูแลที่มีคุณภาพจึงต้องคำนึงถึงการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง
             ผู้รับการดูแลตายอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นหากประเทศไทยจะต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ
             และผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับ

             ประคอง

                   เมื่อศึกษาเอกสารทางวิชาการขององค์การระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในเรื่อง
             การดูแลแบบประคับประคองพบว่าได้แนะนำว่าหากรัฐต้องการพัฒนาระบบการดูแลแบบ
             ประคับประคองจะต้องดำเนินการใน 4 เรื่อง ได้แก่ (1) มีนโยบายระดับชาติในเรื่องการดูแล

             แบบประคับประคองและจะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพของรัฐ
             (2) พัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง            บทความที่ผ่านการพิจารณา
             (3) มีระบบยาโดยเฉพาะยากลุ่ม opioids เพื่อใช้ในการระงับความปวดในการดูแล
             (4) มีระบบงบประมาณ และระบบทางสังคมสนับสนุนการดำเนินการดูแลแบบประคับประคอง
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282