Page 272 - kpiebook65043
P. 272

2 2   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           พยาบาล และเภสัชกร (ได้ข้อมูลไม่ครบทุกเขตสุขภาพ) ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแล
           แบบประคับประคองทั่วประเทศ (ผ่านการอบรมไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระยะสั้นหรือระยะยาว)
           พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 2,920 คน นอกจากนั้นทัศนคติของบุคลากรด้านสุขภาพที่ไม่เคยผ่าน
           การอบรมหรือไม่เคยเรียนรู้ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองยังไม่ยอมรับรูปแบบการดูแล

           ดังกล่าว โดยบางส่วนคิดว่าเรื่องเหล่านี้คือการุณยฆาต หรือบางส่วนก็ต้องการยื้อให้ถึงที่สุด
           เพราะไม่ยอมรับความตายที่เกิดขึ้น ดังนั้นในประเด็นนี้จึงต้องเร่งทำการอบรมบุคลากร
           ด้านสุขภาพทั้งในส่วนที่กำลังศึกษาอยู่และที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เร่งพัฒนา

           ตำราหรือแนวทางการปฏิบัติ (Guile line) เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานเหล่านี้มีความพร้อม
           ในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

                   แต่การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพนั้นเป็นเพียงประเด็นหนึ่งของเรื่องการพัฒนา
           บุคลากรด้านสุขภาพ การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพจะต้องมีการสร้างเส้นทางความก้าวหน้า

           ในสายอาชีพ (Career path) และการสร้างมาตรฐานในการดำเนินการและการสร้างแนวทาง
           การปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพด้วย

                   สำหรับการสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของแพทย์ พยาบาล
           และบุคลากรด้านสุขภาพอื่นที่ทำงานในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองยังเป็นประเด็นที่เป็น

           ปัญหามาก เนื่องจากปัจจุบันตำแหน่งข้าราชการถูกสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
           กำหนดจำนวนและหน้าที่ตามตำแหน่งไว้ ซึ่งในสายงานของบุคลากรด้านสุขภาพนั้น
           ไม่มีสายงานในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองกำหนด ทั้งที่เรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
           เป็นส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ในประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการดำเนินการ

           ตามแผนปฏิรูปประเทศ กล่าวคือ กระทรวงสาธารณสุขต้องการกำลังคนในด้านนี้แต่สำนักงาน
           คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนไม่มีการกำหนดนโยบายในเรื่องการเพิ่มอัตรากำลังของ
           บุคลากรด้านสุขภาพเพื่อสนองตอบสังคมผู้สูงอายุ

                   และหากพิจารณาเรื่องการสร้างมาตรฐานในการดำเนินการของบุคลากรด้านสุขภาพแล้ว

           พบว่าเรื่องการดูแบบประคับประคองเป็นประเด็นทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับสังคมและกฎหมาย
           ที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ การตีความ ของทั้งบุคลากร
           ด้านสุขภาพและประชาชน เช่น ปัญหาการยุติการใช้เครื่องพยุงชีพในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต
           (Withhold and withdraw life sustaining treatment) การรักษาที่ไร้ประโยชน์ หากยุติการใช้

           เครื่องพยุงชีพหรือยุติการรักษาที่ไร้ประโยชน์จะมีความผิดทางกฎหมาย หรือมีความผิดทาง
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   (กรุงเทพธุรกิจ, 2561 : แสวง บุญเฉลิมวิภาส บรรณาธิการ, 2562) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
           จริยธรรมหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้มักถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายเสมอในการดูแลแบบประคับประคอง


           ที่องค์กรวิชาชีพทั้งแพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุขในฐานะฝ่ายนโยบายจะต้องมาพัฒนา

           องค์ความรู้ แนวปฏิบัติ และข้อตกลงร่วมกันของบุคลากรด้านสุขภาพในประเทศ สำหรับในเรื่องนี้
           ผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยมีประสบการณ์ในการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277