Page 276 - kpiebook65043
P. 276

2 6   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                      โรงพยาบาลจะต้องมีระบบการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อข้อมูล
           การดูแลจากโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารักษาไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านของผู้ป่วย นอกจากนั้น
           ยังต้องส่งต่อข้อมูลจากโรงพยาบาลไปยังฝ่ายปกครองในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้เพื่อความสะดวก
           ในการออกใบมรณบัตรในกรณีที่ผู้ป่วยตายที่บ้าน และเพื่อความสะดวกในการยืนยันข้อมูล

           ผู้ป่วยในการเบิกงบประมาณในการดูแล ดังนั้นในกรณีนี้จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือ
           กฎหมายในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติข้อมูล
           ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

           ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ การเปิดเผย การใช้ข้อมูล ในกรณีจึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์
           ในการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล และโรงพยาบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      ชุมชนจะต้องมีการพัฒนาระบบการยืมเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น ชุดผลิต
           ออกซิเจน syringe driver เครื่องพ่นยา เครื่องดูดเสมหะ เตียงลม เตียงปรับระดับได้ รถเข็น

           ให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้านได้ โดยปัจจุบันมีการพัฒนาระบบการยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้ว
           ในหลายพื้นที่ แต่การดำเนินการหลากหลายมาก โดยอาจดำเนินการโดยโรงพยาบาล องค์กร
           ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรทางศาสนา องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในพื้นที่ ดังนั้นในกรณีนี้
           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งโรงพยาบาลจะต้องมีการพัฒนาระบบการยืม
           เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ไปใช้ที่บ้านโดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ กฎหมายจัดตั้ง

           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
           และกฎระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข

                      ที่บ้านจะต้องเตรียมระบบการประสานงานระหว่างญาติและทีมสุขภาพในพื้นที่

           โดยในหลายพื้นที่ก็ได้นำเอา Social media มาใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร

                      ดังนั้นโดยสรุปจึงควรพัฒนาระบบการดูแลที่ชุมชนหรือบ้าน ซึ่งการพัฒนา
           ระบบนี้จะต้องเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล
           เพื่อสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม


                   5.4.3 ปัญหาเกี่ยวกับการออกใบมรณบัตร ปัญหาสำคัญที่ทำให้ญาติไม่ต้องการนำ
           ผู้ป่วยกลับมาดูแลต่อและตายที่บ้าน คือ ความยุ่งยากในการออกใบมรณบัตร กล่าวคือ หากผู้
           ป่วยตายที่บ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งตายเพื่อออกใบมรณบัตรตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ แต่
           กระบวนการในการออกใบมรณบัตรจะยุ่งยาก เนื่องจากเจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งตาย

           ที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่เพื่อออกใบมรณบัตร แต่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งมักจะไม่เชื่อข้อมูลที่ญาติ
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   ไปแจ้งตาย และมักจะแนะนำให้ญาติไปแจ้งความและนำบันทึกแจ้งความมาขอออกใบมรณบัตร

           ซึ่งเมื่อตำรวจรับแจ้งความ ตำรวจก็ไม่ทราบข้อมูลผู้ป่วยว่าขอกลับมาดูแลต่อและตายที่บ้าน

           จริงหรือไม่ ตำรวจก็มักจะนำศพของผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการชันสูตรพลิกศพเพราะไม่ทราบว่า
           ตายเพราะอะไรจึงกลายเป็นการตายไม่ปรากฏเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
           ความอาญา เหตุการณ์นี้นำมาซึ่งความยากลำบากในการบริหารจัดการงานศพของญาติมาก
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281