Page 269 - kpiebook65043
P. 269

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  269
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             5. เปรียบเทียบนโยบายและกฎหมายที่สำคัญของประเทศไทย
             กับแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง


                   เมื่อนำข้อสรุปจากบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
             ทั้ง 4 ประการข้างต้นมาใช้ในการพิจารณาประกอบกับนโยบายและกฎหมายที่สำคัญ

             ของประเทศไทยแล้วจะพบว่า

                   5.1 นโยบายระดับชาติของไทยให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
             แต่ยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคองและไม่กล่าวถึงเรื่อง “ความตาย”

             เมื่อพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นนโยบาย
             ระดับชาติที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณของส่วนราชการทั้งหมดพบว่า
             โดยภาพรวมให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีทักษะทางอาชีพและทักษะ
             ทางสังคมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุทำงานได้แม้จะอยู่ในวัยเกษียณแล้ว และไม่กล่าวถึงเรื่อง

             “ความตาย” แต่ในแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขจะกล่าวถึงการยกระดับการดูแลสุขภาพ
             ผู้สูงอายุให้เป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องปฏิรูปเพื่อรองรับกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น
             ยังจัดให้มีผู้บริบาลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ

                     ในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยธรรมชาติภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ

             หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังเมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของร่างกายจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
             และเกิดความเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้น ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยระยะท้ายจะมีแต่ทรง
             และทรุดไปตามกาลเวลาจนกระทั่งผู้นั้นตาย ความตายจึงเป็นสิ่งที่คาดหมายได้และไม่อาจ
             หลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นหากจะดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

             จะต้องคำนึงถึงการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตด้วย ดังนั้นในการพัฒนานโยบายสุขภาพ
             ของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้นจะต้องพิจารณาให้รอบด้าน คือ ต้องพิจารณาตั้งแต่
             เริ่มวัยเกษียณหรือเริ่มเป็นโรคจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต และพิจารณาว่าแต่ละช่วงวัย
             ควรจะมีนโยบายของรัฐในเรื่องใดบ้างมาเกี่ยวข้องบ้าง


                     “การดูแลในช่วงวาระสุดท้ายและความตาย” ของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
             เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายและกฎหมายของรัฐหลายประการทั้งในเรื่องการจัดบริการสุขภาพ
             การบริการสังคมของรัฐอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดตั้งแต่การบริหารจัดการงบประมาณของสิทธิใน

             การรับบริการสุขภาพที่ไม่คิดมูลค่าที่รัฐจัดหาให้ การบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุข การ
             กำหนดหลักสูตรและมาตรฐานทางการแพทย์ การมีระบบสังคมที่รองรับเรื่องการดูแล
             การทะเบียนราษฎร เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบการดูแลให้แก่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
             ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นการทำให้ระบบการดูแลผู้สูงอายุ
             หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนา   บทความที่ผ่านการพิจารณา

             ระบบการดูแลแบบประคับประคองด้วย
   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274