Page 266 - kpiebook65043
P. 266
266 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ผ่านกรอบสุขภาพ 4 มิติ คือ กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ กล่าวคือ (1) ด้านกาย
ควรมีระบบบริการสุขภาพในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง มีระบบจัดการยาและ
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแล (2) ด้านจิตใจ ครอบครัว ชุมชน และสังคมเข้ามามีส่วนร่วม
ในเรื่องการดูแล (3) ด้านปัญญา ควรนำกิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อของชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในเรื่องการดูแล (4) ด้านสังคม ควรมีกฎหมาย
Living will และระบบการเงินที่สนับสนุนการดูแล (Worldwide Palliative Care
Alliance, (n.d.))
3.5 The 2015 Quality of Death Index Ranking palliative care across
the world คือดัชนีวัดคุณภาพการดูแลแบบประคับประคองในแต่ละประเทศ โดยมี
ตัวชี้วัดที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้แก่ (1) มีนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
(2) มีการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและไม่ใช่บุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (3) มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ
(4) มีการบูรณาการการดูแลแบบประคับประคองเข้าไปในระบบบริการสุขภาพตามปกติ
(5) มีระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม (The Economist Intelligence Unit,
2015)
3.6 Improving Access to Palliative Care โดยองค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่
เอกสาร Improving Access to Palliative Care โดยเอกสารดังกล่าวมีแนวทาง
ในการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง ได้แก่ (1) ปรับปรุงกฎหมาย
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงยาแก้ป่วยกลุ่ม Opioids (2) นำเรื่องการดูแลแบบประคับ
ประคองเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนของบุคลากรสุขภาพ (3) จัดบริการการดูแล
แบบประคับประคองที่หน่วยบริการปฐมภูมิและที่บ้าน (WHO, n.d)
จากการพิจารณาเอกสารวิชาการเหล่านี้พบว่ามีจุดร่วมกันคือได้แนะนำให้รัฐต่างจะต้อง
ดำเนินการใน 4 เรื่องได้แก่ (1) ต้องมีนโยบายระดับชาติในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
รวมทั้งผสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในการดำเนินการ (2) ต้องมี
การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
(3) มีระบบยาที่จำเป็นโดยเฉพาะยากลุ่ม Opioids ที่ใช้ในการดูแลแบบประคับประคอง
(4) มีระบบสนับสนุนทางสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการดูแลแบบประคับประคอง
บทความที่ผ่านการพิจารณา