Page 311 - kpiebook65024
P. 311
310 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
5) การก�าหนดให้ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วม และการตรวจสอบ
การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก�าหนดหลักเกณฑ์
ดังกล่าวไว้ใน มาตรา 253 ยังคงเป็นหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
6) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการเข้าชื่อ
ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ได้ก�าหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ใน มาตรา 254
ยังคงเป็นหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
อนึ่งในการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละครั้งมักจะมีการพิจารณากันอยู่เสมอว่า
สมควรบัญญัติเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นหมวดหนึ่งของรัฐธรรมนูญ หรือ
ควรบัญญัติไว้แต่เพียงเป็นบทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น ซึ่งในเรื่องนี้
ได้มีความเห็นส�าคัญแตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย (มานิตย์ จุมปา, 2553) ดังนี้
ฝ่�ยแรก มีความเห็นว่า ยังไม่ควรบัญญัติเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้
เป็นหมวดหนึ่งของรัฐธรรมนูญ แต่ควรน�าไปบัญญัติไว้ในแนวนโยบายของรัฐ เนื่องจาก
รัฐธรรมนูญควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอ�านาจทั้งสาม ได้แก่ อ�านาจนิติบัญญัติ อ�านาจบริหาร
และอ�านาจตุลาการเท่านั้น ไม่ควรมีเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอีกหมวดหนึ่งใน
รัฐธรรมนูญ เนื่องจากตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517
ที่ก�าหนดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเป็นอีกหมวดหนึ่ง โดยได้ก�าหนดไว้ใน
บทเฉพาะกาลให้กระท�าภายในเวลา 2 ปี เท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก