Page 15 - kpiebook65019
P. 15

14   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม


        ที่จะยกร่างนั้นประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง จะก�าหนดโครงสร้างและรูปแบบความสัมพันธ์
        ขององค์กรที่จะเข้ามาใช้อ�านาจอธิปไตยกันแบบไหน อย่างไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

        ก็คือ สสร. ท�าหน้าที่น�าเอาประเด็นที่เป็นปัญหาส�าคัญ ๆ ของสังคมมาสะท้อนเพื่อท�าให้
        มีการสร้างกติกาสูงสุดของประเทศ และกติกาสูงสุดที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นกลไก

        ทางออกทางแก้ปัญหาส�าคัญ ๆ ของสังคม

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นจาก

        การเรียกร้องในทางการเมืองจากสังคมไทย ณ.ขณะนั้นให้มีการ “ปฏิรูปการเมือง”
        ส่งผลให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
                                                                             2

        2   ค�าปรารภ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

            “ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๔๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม
        พฤษภสมพัตสร อัสสยุชมาส ศุกลปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล ตุลาคมมาส เอกาทสมสุรทิน
        โสรวาร โดยกาลบริเฉท

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
        สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่
        ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
        อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
        ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่ารัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลง
        ได้ตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและสภาวการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญจะต้องก�าหนด
        กฎเกณฑ์ส�าคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและเป็นแนวทาง
        ในการจัดท�ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้
        และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญ
        แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้บัญญัติให้มีสภา
        ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจ�านวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่
        จัดท�าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐำนส�ำคัญในกำรปฏิรูปกำรเมือง และ
        ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี
        พระบาทรับพระราชทานกระแสพระราชด�ารัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การท�างาน ภายหลังจากนั้น
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20