Page 16 - kpiebook65019
P. 16
15
ตั้งเข็มมุ่งและก�าหนดกลไกต่าง ๆ ที่เป็นการปฏิรูปการเมือง โดยออกแบบกลไกส�าคัญ
ให้ตั้งอยู่บนหลักการ หรือ ปรัชญาของรัฐธรรมนูญ สาม ประการคือ 1. ปฏิรูปการเมือง
ให้มีการเมืองภาคพลเมืองควบคู่ไปกับการเมืองของนักการเมือง 2. ท�าให้ระบบการเมือง
ตั้งอยู่บนความสุจริตและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และ 3. ท�าการเมืองให้มี
เสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ และด้วยกระบวนการจัดท�ารัฐธรรมนูญแบบนี้จึงท�าให้
โครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้นเป็นอย่างมาก มีโครงสร้างและหลักการ
ส�าคัญ ๆ ใหม่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นมากมาย
ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างอ�านาจรัฐและโครงสร้างสังคมได้อย่างแท้จริง
ในสองลักษณะ คือ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�านาจที่เกิดจากตัวรัฐธรรมนูญเอง
โดยตรง อาทิเช่น การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลปกครองเพิ่มเติมนอกเหนือจาก
การมีศาลยุติธรรม ท�าให้มีกลไกการตรวจสอบในรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งถ้าหากไม่ระบุไว้ใน
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีโอกาสจะเกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นได้ก็จะไม่สามารถ
ที่จะท�างานได้เนื่องจากไม่มีอ�านาจหรือไม่มีความเป็นอิสระ และสอง การเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างอ�านาจและโครงสร้าง (ความสัมพันธ์เชิงอ�านาจ) ของสังคมที่เกิดจาก
กลไกและกระบวนการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ที่ภาคพลเมืองน�าไปขับเคลื่อนต่อในหลากหลายมิติซึ่งส่งผลท�าให้เกิดพัฒนาการไป
ในทางที่ยกระดับทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณในด้านสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดท�าร่างรัฐธรรมนูญโดยมีสาระส�าคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ
เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้
โดยได้ค�านึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นส�าคัญ และได้ด�าเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้ว ทุกประการ.........”