Page 19 - kpiebook65015
P. 19
18 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3
แบบบัญชีรายชื่อ” หรือ “ปาร์ตี้ลิสต์” (Party List) ซึ่งหมายความว่า บัญชีรายชื่อ
ของพรรคการเมือง และมีหลายประเทศที่น�าเอาทั้งสองระบบมาใช้ร่วมกันเป็น ระบบผสม
(Mixed System หรือ Mixed Electoral System) ซึ่งจะขอแยกอธิบายโดยสังเขป
ดังต่อไปนี้
1.1 ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก (Majority System)
ใน ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้ำงมำก นั้น ผู้ชนะการเลือกตั้งคือผู้ที่ได้
คะแนน มากที่สุด โดยการได้คะแนนมากที่สุดยังแยกเป็นสองแบบคือ หนึ่ง ได้คะแนน
มากที่สุดในบรรดาผู้สมัครในเขตเลือกตั้งโดยไม่ต้องได้คะแนนเกินครึ่ง ซึ่งก็คือ
ระบบเสียงข้ำงมำกธรรมดำ หรือเสียงข้างมากแบบง่าย (Simple Majority System)
และสอง ได้คะแนนมากที่สุดอย่างเดียวไม่พอ แต่จะต้องได้คะแนนเกินครึ่งด้วย ซึ่งคือ
ระบบเสียงข้ำงมำกเด็ดขำด (Absolute Majority System) โดยระบบเสียงข้างมาก
ธรรมดา และระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด ยังมีระบบแยกย่อยลงไปอีก ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2550 ให้แบ่งเขตเลือกตั่งแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อเป็น 8 กลุ่มจังหวัด 8 บัญชีรายชื่อ
3 อย่างไรก็ตาม มีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพียงฉบับเดียวที่เรียกว่า “การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ”
(มาตรา 98) ขณะที่รัฐธรรมมนูญ พ.ศ. 2550 ใช้ค�าว่า “การเลือกตั้งแบบสัดส่วน” (มาตรา 93)
แต่ก็ได้เปลี่ยนเป็นเรียกว่า “การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ” ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปี 2554
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554) ส่วนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
ไม่มีการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน; การเรียกระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนว่า “การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ”
ก็ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก เนื่องจากการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากก็มีบัญชีรายชื่อได้ ซึ่งได้แก่ ระบบ
Party Block Vote ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละหลายคนที่รวมผู้สมัครเป็นหมายเลข
เดียวกัน ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้ง ส.ส. ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 แต่ไม่เคยได้ใช้เพราะมีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการใช้จริง ดูเชิงอรรถที่ 9-11