Page 20 - kpiebook65015
P. 20

19


                       (1) ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดา

                             (Simple Majority System)


                  ในระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดา หรือเสียงข้างมากแบบง่าย ผู้ที่จะชนะ
           การเลือกตั้งคือผู้ที่ได้คะแนน มากที่สุด ในบรรดาผู้สมัครทุกคนในเขตเลือกตั้ง โดยคะแนน

           ที่ได้มากที่สุดนี้จะได้น้อยแค่ไหนก็ได้ไม่ส�าคัญ ขอเพียงมากกว่าคนอื่นก็จะได้รับเลือกตั้ง
           โดยระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดามีการแบ่งเขตเลือกตั้งได้สองแบบคือ เขตละคน

           (Single-Member Constituency) คือมี ส.ส. เขตละหนึ่งคน และ เขตละหลำยคน
           (Multi-Member Constituency) คือมี ส.ส. เขตละหลายคน ดังนี้

                  (1.1) ระบบเลือกตั้งเสียงข้ำงมำกธรรมดำเขตละคน ในระบบเลือกตั้ง

           เสียงข้างมากธรรมดาเขตละคนนั้น ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับหนึ่ง
           โดยไม่สนใจว่าได้คะแนนมากหรือน้อยแค่ไหน และไม่สนใจคะแนนของคนที่ได้อันดับสอง

           หรืออันดับรอง ๆ ลงไปเลย ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจึงเรียกระบบเลือกตั้ง
           เสียงข้างมากธรรมดาเขตละคนว่า ระบบ First-Past-the-Post (FPTP) ซึ่งระบบ

           เลือกตั้งที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554
           และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เรียกว่า “การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง”  ก็คือระบบ
                                                                      4
           เลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดาเขตละคน หรือ First-Past-the-Post หรือ FPTP นี้เอง

                  (1.2) ระบบเลือกตั้งเสียงข้ำงมำกธรรมดำเขตละหลำยคน ในขณะที่ระบบ
           เสียงข้างมากธรรมดาเขตละคนมีเพียงแบบเดียว คือ FPTP แต่ระบบเสียงข้างมาก

           ธรรมดาเขตละหลายคน คือมี ส.ส. หลายคนในเขตเลือกตั้ง มีวิธีการในการเลือกได้
           หลายวิธี ซึ่งมีระบบที่ใช้กันในประเทศต่าง ๆ 3 ระบบ  ดังต่อไปนี้คือ
                                                      5

           4    โปรดดูเชิงอรรถที่ 2
           5    ระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละหลายคนยังมีอีกระบบคือ Limited Vote เขตละหลายคน
           โดยมีคะแนนมากกว่าหนึ่งคะแนน แต่น้อยกว่าจ�านวน ส.ส. เช่น มี ส.ส. เขตละ 5 คน แต่มีคะแนน
           เลือกได้ 3 คน แต่เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่ค่อยใช้กัน จึงขอกล่าวถึงในเชิงอรรถเท่านั้น
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25