Page 57 - kpiebook64011
P. 57

ระบอบประชาธิปไตยแบบหัวมังกุท้ายมังกร อาทิ เผด็จการเลือกตั้งนิยม (electoral authoritarianism) หรือ
               เผด็จการที่เน้นการแข่งขัน (competitive authoritarianism) เองก็ต้องการระบบอุปถัมภ์และจักรกล

               การเมืองเพื่อให้ชนชั้นน าได้มีโอกาสในการด ารงอ านาจและควบคุมกับประชาชนในประเทศได้ โดยท าให้การ
               แข่งขันทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรต่าง ๆ มาให้กับพวกตนและ
               เครือข่าย ดังนั้นจักรกลการเมืองและระบบอุปถัมภ์ที่มีการปรับตัวนี้จึงเป็นเงื่อนไขส าคัญในการเมืองร่วมสมัย
               ของประเทศในลาตินอเมริกา รวมทั้งในกรณีรัสเซียหลังการออกจากระบอบคอมมิวนิสต์


                       พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2564) อ้างอิงถึงงานของ Reuter และคณะ (2016) ที่ศึกษาการเลือกตั้งท้องถิ่นใน
               รัสเซีย เพื่อเข้าใจพลวัตทางอ านาจของระบอบเผด็จการเน้นการแข่งขันของรัสเซียภายใต้การน าของปูติน และ

               พิจารณาความเปลี่ยนแปลงของการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเมืองต่าง ๆ ของรัสเซีย โดยงานของ Reuter
               และคณะน าเสนอมุมมองจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่และชี้ให้เห็นปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดในการเมืองเรื่องการ
               เลือกตั้งท้องถิ่นในรัสเซียที่ชี้ให้เห็นสัญญาณส าคัญของพลวัตของระบอบเผด็จการเน้นแข่งขันในการเมืองรัสเซีย
               ในภาพรวม โดยชี้ว่าจุดส าคัญในการพิจารณาก็คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรัสเซียจาก

               ยุคที่ก้าวออกจากสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งการปกครองในรูปเทศบาลนั้นมักจะเป็นไปในลักษณะของการเลือกตั้ง
               นายกเทศมนตรีโดยตรงตามเมืองต่าง ๆ แต่เมื่อ 20 ปีผ่านไปสิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นว่านายกเทศมนตรีของเมือง
               ต่าง ๆ ในรัสเซียเกือบครึ่งนั้นถูกเปลี่ยนให้ไปเป็นแบบของการแต่งตั้ง แต่ไม่ได้แต่งตั้งแบบยึดอ านาจ แต่
               หมายความว่าสภาท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่นั้นกลับลงมติเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบนายกเทศมนตรีที่มา

               จากการแต่งตั้งจากสภา อาทิรูปแบบของผู้จัดการเมือง (city manager) และมีความพยายามเปลี่ยนกฎหมาย
               ที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกแต่งตั้งมาจากส่วนกลางสามารถก าหนดได้ว่าจะยกเลิกระบบเลือกตั้ง
               นายกเทศมนตรีโดยตรง (แต่ก็ไม่ส าเร็จ)


                       เรื่องผู้จัดการเมืองนั้น แม้ว่าหลายที่ในโลกจะชื่นชมว่าดี แบบสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นการเอา
               ผู้บริหารมืออาชีพมาบริหารท่ามกลางการควบคุมของสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องพิจารณาอีกด้าน

               หนึ่งด้วยว่าการมีผู้บริหารเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนนั้น ท าให้ประชาชนไม่สามารถควบคุม
               ผู้บริหารหลักคนนี้ทางตรงได้ และในเมืองที่ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน สมาชิกสภาท้องถิ่นแต่ละที่อาจจะต้องเข้าไป
               ประนีประนอมกัน จนเราไม่รู้สึกว่าคนที่เป็นนายกเทศมนตรีของเรามาจากการเลือกของเราเลยก็อาจเป็นได้


                       ในรายละเอียดของเรื่องการเปลี่ยนแปลงนี้ในส่วนที่หนึ่งอาจไม่ค่อยน่าแปลกใจว่าเมืองที่เกิดการ
               เปลี่ยนแปลงนี้เป็นเมืองที่สมาชิกสภาจ านวนมากสังกัดพรรคของปูติน ข้อค้นพบที่น่าสนใจก็คือเมืองที่
               เปลี่ยนเป็นแบบไม่เลือกตั้งทางตรงนั้นกลับเป็นเมืองที่มีการแข่งขันทางการเมืองที่สูสีกัน กล่าวคือเป็นกรณีที่

               นักการเมืองท้องถิ่นหรือชนชั้นน าในท้องถิ่นสู้กันแบบหายใจรดต้นคอ คือไม่มีใครชนะเด็ดขาด

                       ขณะที่เมืองที่มีการชนะกันอย่างเด็ดขาด (เมืองไทยอาจจะเรียกบางเมืองว่าบ้านใหญ่ หรือเมืองที่ผู้น า

               ท้องถิ่นโดดเด่นด้วยความนิยม) ทางระบอบปูตินกลับปล่อยให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทางตรงต่อไป ซึ่ง
               ค าถามก็คือท าไมเผด็จการแบบปูตินไม่มองว่าผู้น าท้องถิ่นที่เข้มแข็งทั้งหมดนั้นเป็นศัตรูของเขาที่จะต้องก าจัด
               โดย Reuter และคณะเสนอว่า แม้ว่าการเปิดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในระบอบเผด็จการนั้นจะเต็มไปด้วย
               ความไม่แน่นอน และมีต้นทุนที่สูง แต่เผด็จการเองก็ได้ประโยชน์จากสิ่งนี้เช่นกัน เพราะบรรดานักการเมืองใน

               ระดับท้องถิ่นนี้จะเป็นส่วนส าคัญในการสร้างจักรกลทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ เพราะการปล่อยให้พวกนี้
               พอมีอิสระบ้างจะเป็นสัญญาณที่สร้างความน่าเชื่อถือว่าพวกเขาจะได้รับความสนับสนุนมากจากฐานรากใน





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   39
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62