Page 5 - kpiebook64011
P. 5
ก่อรูปของความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบใหม่ที่ผู้ใต้อุปถัมภ์ต้องยอมรับการอุปถัมภ์จากจักรกลเศรษฐกิจ
การเมืองเพื่อไม่ให้ตนเองแปลกแยกไปจากสังคมและกลายเป็นคนนอกเครือข่ายอ านาจในพื้นที่
ในเชิงทฤษฎี การศึกษาครั้งนี้โต้แย้งงานวิจัยในอดีตที่มักเชื่อว่าจักรกลการเมืองและระบบอุปถัมภ์จะ
เสื่อมถอยลงเมื่อมีประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นแล้ว ที่เป็นเช่นนั้นได้เพราะผู้คนสามารถพึ่งพาการรณรงค์เลือกตั้งใน
ระบบปกติที่ใช้นโยบายเป็นฐานแทนการเมืองแบบเก่าที่ที่วางอยู่บนจักรกลการเมืองและระบบอุปถัมภ์ในฐานะ
รูปแบบหลักของการต่อรองทางการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ในจังหวัดสมุทรปราการน าเสนอข้อค้นพบที่ต่างออกไป การกลับมามีอิทธิพลของรัฐบาลเผด็จการตั้งแต่ปี
2557 และการเปลี่ยนผ่านทางประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์สร้างโอกาสให้แก่กลุ่มการเมืองเก่าหรือเครือข่าย
จักรกลการเมืองเก่าในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเคยพ่ายแพ้และสูญเสียอ านาจจากการเลือกตั้งไปภายใต้ระบอบ
รัฐบาลแบบประชานิยม กลับมาสถาปนาอ านาจใหม่ในพื้นที่ได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นจากอีกทั้งข้อได้เปรียบเชิง
ภูมิศาสตร์ของจังหวัดสมุทรปราการซึ่งได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่ไหลล้น (Trickle-down
development effect) ในฐานะจุดเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานคร ทั้งในแง่การเป็นที่ตั้งของสนามบินนานชาติ
แห่งใหม่และเป็นจุดเชื่อมต่อกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างเขตพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
ได้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่กลุ่มอ านาจเก่าหรือเครือข่ายจักรกลการเมืองเก่า สามารถฉวยใช้เพื่อสถาปนา
จักรกลเศรษฐกิจการเมืองรูปแบบใหม่ขึ้นมา จักรกลเศรษฐกิจการเมืองรูปแบบใหม่ใช้โครงการและงบประมาณ
ด้านการพัฒนาต่างๆ ในฐานะทรัพยากรส าคัญเพื่อเชื่อมเครือข่ายอ านาจในท้องถิ่นในฐานะหุ้นส่วนที่
กระตือรือร้นของจักรกลเศรษฐกิจการเมืองรูปแบบใหม่ ดังนั้นการท างานของจักรกลเศรษฐกิจการเมืองแบบ
ใหม่จึงยิ่งท าให้ระบบอุปถัมภ์มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเชื่อมโยงเครือข่ายได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าจักรกล
การเมืองรูปแบบเดิมซึ่งมีฐานอยู่ที่การซื้อเสียงด้วยเงินและใช้ความรุนแรงในการปกครอง
3) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงในการ
เลือกตั้งครั้งนี้พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้มากกว่าการเลือกตั้งในปี 2554 ร้อยละ
6.86 หากพิจารณาลงไปในระดับเขตเลือกตั้งพบว่า จ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิในเขตเมืองผสมกับเขตชนบท และ
เขตชนบท สูงกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมือง นัยจากจ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิดังกล่าวอาจอธิบายได้ว่า ความ
ตื่นตัวของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองต่ ากว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตชนบทและเขตเมืองผสมชนบท และจากการ
ส ารวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างท าให้พบว่า ปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างมักใช้ประกอบการตัดสินใจคือ
ปัจจัยด้านความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร และการที่ผู้สมัครสังกัดกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่น แม้ว่าการส ารวจ
ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างอาจมีอ านาจในการอธิบายการตัดสินใจเลือกตั้งแบบทบทวนผลงานที่ผ่านมาได้
ต่ า แต่สามารถสะท้อนให้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกผู้น าของพวกเขาบนฐานของอารมณ์ ความรู้สึก
และการรับรู้ในรูปแบบใด
4) การจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้สามารถประเมินความส าเร็จและข้อผิดพลาดเพื่อตั้งเป็นข้อสังเกตได้
ดังนี้ มีข้อร้องเรียนต่อการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ ทั้งในประเด็นปัญหาการตรวจสอบข้อมูลและคุณสมบัติของ
ผู้สมัคร การเตรียมการเลือกตั้งที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อก าหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลาง การ
พบเห็นการแจกเงินและการข่มขู่คุกคามต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในหน่วย
เลือกตั้ง ภาคประชาสัมคมและสถาบันทางวิชาการมักเป็นผู้เฝ้าสังเกตการณ์และป่าวร้องความผิดพลาดและ
ความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งให้สาธารณะได้รับรู้ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ถูกเชื่อมโยงให้เป็นส่วนหนึ่งของการ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ค