Page 4 - kpiebook64011
P. 4
บทสรุปผู้บริหาร
โจทย์ส าคัญของการศึกษาครั้งนี้ คือ ความพยายามเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการ
เลือกตั้ง ในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่น (electoral politics) และความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองของการ
เลือกตั้งท้องถิ่นกับโครงสร้างอ านาจในพื้นที่และในระดับชาติ การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 ถูกน ามาใช้เป็นกรณีศึกษา เพราะช่วยฉายภาพ
ให้เห็นว่าการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นเข้าไปบริหารจัดการกับพื้นที่ซึ่งเชื่อมต่อกับมหานครโตเดียวที่เป็น
ศูนย์กลางของประเทศอย่างกรุงเทพมหานครอย่างไร รวมถึงช่วยสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของการเลือกตั้ง
ท้องถิ่นกับการเมืองของการประกอบสร้างจักรกลเศรษฐกิจการเมืองโดยบ้านใหญ่เพื่อผนึกอ านาจและสร้าง
ระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่
ค าถามที่ถูกใช้เป็นกรอบในการศึกษาคือ 1) การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 สะท้อนให้เห็นการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างไร
2) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในแง่ปิดลับและเป็นทางการเป็นอย่างไร 3) พฤติกรรมทาง
การเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการตัดสินใจเลือกผู้สมัครมีลักษณะอย่างไร และ 4) การจัดการเลือกตั้ง
ท้องถิ่นในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดอย่างไร ข้อค้นพบชี้ให้เห็นว่า
1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศทางการเมืองในระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการ
เลือกตั้งครั้งนี้ดังนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่ลงสมัครภายใต้สังกัดกลุ่มการเมืองในระดับพื้นที่ซึ่งมีความ
เข้มแข็งทั้งในเชิงเครือข่าย ผู้น า ทรัพยากร และการระดมคะแนนเสียงสนับสนุน แต่กลุ่มการเมืองที่มีความเข็ม
แข็งมากที่สุดคือ กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าซึ่งสามารถสร้างจักรกลเศรษฐกิจการเมืองเพื่อผนวกรวมเครือข่าย
หัวคะแนนในพื้นที่เข้ามาเป็นสมาชิกในจักรกลเศรษฐกิจการเมืองของฝ่ายตนเองได้อย่างกว้างขวางจนท าให้
ผู้สมัครรับเลือกตั้งจ านวนมากของกลุ่มได้รับชัยชนะ ส าหรับอิทธิพลของการเมืองระดับชาติต่อการเลือกตั้งมัก
ด าเนินไปอย่างไม่เป็นทางการผ่านการให้ความช่วยเหลือแบบปิดลับ ผ่านสายสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ หรือ
ความคุ้นเคยกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับนักการเมืองระดับชาติ
2) พฤติกรรมการหาเสียงและรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ รวมถึงการ
ตอบสนองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อพฤติกรรมและรูปแบบการหาเสียงพบว่า รูปแบบการหาเสียงแบบเดิม ทั้งการ
ใช้ป้ายหาเสียง การพบปะประชาชน การแจกใบปลิวแผ่นพับ การรณรงค์ผ่านรถแห่ และหัวคะแนนยังเป็น
รูปแบบที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนิยมใช้เพื่อสื่อสารกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส าหรับการหาเสียงผ่านระบบออนไลน์ซึ่ง
เป็นรูปแบบการหาเสียงที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรองให้ใช้หาเสียงได้เป็นครั้งแรก กลับไม่เป็นที่นิยมทั้ง
ในกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งและกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การหาเสียงแบบปิดลับถูกใช้อย่างเข้มข้นผ่านการท างาน
ของจักรกลเศรษฐกิจการเมือง (Political-economic machine) โดยเครือข่ายหัวคะแนนที่สังกัดอยู่ในจักรกล
เศรษฐกิจการเมืองไม่เพียงท าหน้าที่กระจายทรัพยากรที่จ าเป็นต่อการเลือกตั้ง หากแต่ยังเป็นนายหน้าผู้จัดการ
โครงการพัฒนาและงบประมาณในระดับพื้นที่เพื่อควบคุมการสนับสนุนคะแนนเสียงจากพื้นที่ การกระจาย
ทรัพยากรผ่านการท างานของจักรกลเศรษฐกิจการเมืองช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง (political-
economic development) แม้อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ด้อยคุณภาพก็ตาม รวมถึงยังน าไปสู่การ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ข