Page 13 - kpiebook64008
P. 13
บทคัดย่อ
รายงานวิจัย เรื่อง การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เป็นการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ด้วย
การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และข้อมูลจากแบบสอบถามเชิงส ารวจ
(Survey Research) จากประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 15 อ าเภอของจังหวัดเชียงใหม่และมีสิทธิ์เลือกตั้งจ านวน 236
ตัวอย่าง และ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เยาวชน) จ านวน 400 ตัวอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์ในการด าเนินการ
วิจัยคือ 1.) เพื่อศึกษาและท าความเข้าใจข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
รวมทั้งบรรยากาศทางการเมืองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด 2.) เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการในการหาเสียงเลือกตั้งและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 3.) เพื่อศึกษา
ความคิดเห็นและพฤติกรรมทางการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่ 4.) เพื่อศึกษาปัญหาและประเด็นส าคัญที่ส่งผลต่อการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
จากการศึกษาวิจัยพบว่า การเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ ทั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ. เป็นการเลือกตั้งที่
แข่งขันระหว่าง 2 ฝ่าย คือ พรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่เห็นบทบาทและ
อิทธิพลของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นอย่างชัดเจน แม้ไม่ได้มีกฎหมายก าหนดให้ผู้สมัครสังกัด
พรรคการเมือง ในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ผู้สมัครส่วนใหญ่ คือ ผู้มีประสบการณ์หรือเคยเป็นอดีตนักการเมือง
ผู้น าทางการเมืองมาแล้ว ผู้สมัครกลุ่มอิสระแม้ไม่ได้ลงสมัครในนามพรรคการเมือง แต่มีการหาเสียงเลือกตั้งที่
เชื่อมโยงกับพรรคการเมืองระดับชาติ รูปแบบและวิธีการหาเสียงที่ใช้ในการเลือกตั้งเป็นวิธีการที่เน้นการเชื่อมโยง
กับพื้นที่ คือ มีการน าเสนอนโยบายที่เน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาเฉพาะของจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการขึ้นป้ายหา
เสียง การปราศรัยและการพบปะประชาชนในพื้นที่และชุมชน มากกว่าการใช้สื่อออนไลน์ การซื้อเสียงยังคงปรากฏ
ผ่านระบบหัวคะแนน แต่ลักษณะพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่า การให้ความหมายของ
เงินซื้อเสียงเปลี่ยนไปสู่ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนที่ท าให้เงินไม่ใช่หลักประกันว่าผู้รับเงินจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้
ผลของการท าวิจัยเชิงส ารวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความสนใจและความเข้าใจเกี่ยวการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
และเชื่อว่าปัจจัยเรื่องพรรคการเมืองและการเป็นอดีตผู้น าในพื้นที่เป็นสิ่งที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ในขณะที่ ผลการส ารวจของนักศึกษาพบว่ายังมีจ านวนมากที่ขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องของการเลือกตั้ง
อบจ. ปัจจัยที่นักศึกษาให้ความส าคัญคือเรื่องนโยบายและพรรคการเมือง และมีแนวโน้มที่นักศึกษาจะไม่ไปใช้สิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ภูมิล าเนาของตนแต่จะยื่นค าร้องขอรักษาสิทธิ เนื่องจาก เงื่อนไขการเดินทางที่มีการ
ก าหนดวันเลือกตั้งเพียงวันเดียว ไม่ได้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าหรือนอกเขตเหมือนการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเชื่อมโยงไป
ถึงปัญหาในการจัดการเลือกตั้งที่มีข้อเสนอแนะให้การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นควรมีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าหรือ
เลือกตั้งนอกเขตจังหวัด นอกเหนือจากนี้ประเด็นปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ เจ้าหน้าที่ประจ าหน่วยเลือกตั้งและ
ประชาชนยังไม่เข้าใจทั้งในเรื่องข้อกฎหมาย ประกาศและค าสั่งอย่างชัดเจน และการจัดการเลือกตั้งของหน่วย
เลือกตั้งในหลายพื้นที่ ยังมีมาตรฐานในการจัดพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ แตกต่างกัน ขาดความร่วมมือจากประชาชน
ในการร่วมตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการซื้อเสียงเลือกตั้ง
ฎ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่