Page 93 - kpiebook63029
P. 93

92       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             11 เมษายน 2562) ซึ่งแตกต่างจากประชาชนคนหนึ่ง กล่าวว่า “ถ้าคนที่เรารัก ลงพรรคที่เราชอบ

             มันก็ทำาให้เราเลือกง่ายขึ้น คือ กากบาทลงไปเลย แต่ถ้ามันตรงกันข้ามก็ลำาบากใจ แต่ตนมองต่างจาก
             ความคิดเห็นดังกล่าว ตนมองว่าถ้าให้ตัดสินใจ ตนจะเลือกบุคคลมากกว่า เพราะคะแนนที่เลือกเป็น

             การเลือก ส.ส. มาทำาหน้าที่พัฒนาจังหวัด ไม่ว่าจะอยู่พรรคการเมืองใด อย่างไรก็ตาม ตนคงไม่ไป
             เลือกบุคคลที่อยู่พรรคที่มีอุดมการณ์กันตรงข้ามกับพรรคการเมืองที่ตนเองชอบอยู่แล้ว” (สัมภาษณ์

             วันที่ 11 เมษายน 2562)


                      นอกจากนี้ ณัชชาภัทร อมรกุล จากสถาบันพระปกเกล้า มองว่า ทุกพรรคการเมืองจำาเป็นต้อง
             ต้องส่งตัวแทนของพรรคลงเลือกตั้งให้มากที่สุด การใช้บัตรเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวจะทำาให้ประชาชน

             ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเลือกที่ตัวบุคคลมากกว่านโยบายพรรคซึ่งเป็นการทำาลายความเป็นสถาบันที่
             เข้มแข็งของพรรคการเมือง ประการต่อมาผลการเลือกตั้งอาจไม่สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของพวกเขา

             ต่อมาคือผลการเลือกตั้งกระจายเป็นเบี้ยหัวแตก เนื่องจากพรรคที่ได้รับ ส.ส. แบบแบ่งเขตมาก จะเหลือ
             ที่นั่งสำาหรับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อน้อยลง นำาไปสู่การตั้งรัฐบาลพรรคผสมค่อนข้างสูง และที่สำาคัญคือ

                                                                                            70
             การเลือกตั้งครั้งนี้จะทำาลายความสามัคคีของผู้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในพรรคเดียวกัน  สอดคล้อง
             กับที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์

             ที่ได้ระบุว่า โดยปกติวิสัยแล้วคนที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละเขตจะชนะและเป็น ส.ส. แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
             แต่คราวนี้ได้นำาเอาคะแนนของผู้ที่แพ้การเลือกตั้งทั้งประเทศมารวมกันเพื่อคำานวณเป็นจำานวน ส.ส. พึงมี

             เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพรรคใหญ่ที่ได้คะแนนเสียงมากจะเสียเปรียบในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้ 71


                      ข้อมูลจากสำานักงานทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า จำานวนประชากรของประเทศ
             นำามาเป็นฐานคิดในการแบ่งเขตเลือกตั้งคือ 66.41 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561) หากตั้ง
             สมมติฐานว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 70 ก็เท่ากับว่ามีคนมาใช้สิทธิ์ประมาณ 46.48 ล้านคน หรือเฉลี่ย

             ตกเขตละ 132,820 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ทุกๆ คะแนน ล้วนมีความหมายอย่างยิ่ง

             อย่างไรก็ตาม หากเราไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำาหนดให้เราเสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้ คือ
             สิทธิในการยื่นคำาร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิก
             สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกำานันและ

             ผู้ใหญ่บ้าน การต้องห้ามดำารงตำาแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง การต้องห้าม

             ดำารงตำาแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธาน
             ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมาย
             ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




             70  “ทำาความเข้าใจก่อนไปเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรใบเดียว เลือกได้เพียงหนึ่ง คนที่รักหรือพรรคที่ใช่” เดอะสแตนดาร์ด,
             3 ตุลาคม 2561, จาก www.thestandard.co/election-2561-and-voting-explained
             71  “คณิตศาสตร์เลือกตั้ง จะชนะเลือกตั้งต้องได้กี่เสียง” มติชน, 1 ตุลาคม 2561. จาก www.matichonweekly.com/
             column/article_137184
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98