Page 96 - kpiebook63029
P. 96
95
ในรัฐบาล คสช. ที่สังกัดพรรคพลังประชารัฐได้ใช้ตำาแหน่งหน้าที่ในการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง และนำา
งบประมาณแผ่นดินทำาโครงการสร้างคะแนนนิยมให้พรรคตนเอง โดยมีโครงการอัดฉีดเงินแก่ประชาชน
ก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปฏิเสธว่าโครงการดังกล่าวไม่ใช่ประชานิยม เช่น โครงการ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้เงินจำานวน 500 บาทในทุกๆ เดือนแก่ผู้มีรายได้น้อยในกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน
30,000 บาทต่อปี การเพิ่มเงินแก่ข้าราชการบำานาญ เป็นต้น จึงนับได้ว่านโยบายประชานิยมที่ถูกกล่าวว่า
เป็นนโยบายมอมเมาประชาชน กลายเป็นนโยบายที่ทุกพรรคการเมืองมองเห็นว่า สามารถซื้อใจประชาชน
ไม่เพียงแต่ประชาชนชนชั้นรากหญ้า แต่รวมไปถึงประชาชนทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเป็น
เครื่องมือให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงของพรรคได้มากที่สุด
การเลือกตั้งปี 2562 นี้ แต่ละพรรคการเมืองได้มีนโยบายที่ใช้หาเสียงแตกต่างกัน แต่ยังเป็น
นโยบายที่เอาใจชนชั้นรากหญ้าเป็นส่วนมาก โดยผู้วิจัยจะขอยกตัวอย่างทั้งหมด 5 พรรคการเมือง
ซึ่งมีนโยบายที่โดดเด่น ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย
และพรรคอนาคตใหม่ ดังนี้
พรรคเพื่อไทย
วันที่ 4 มีนาคม 2562 ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุมเพื่อเปิดนโยบายโค้งสุดท้ายก่อน
การเลือกตั้งเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 3 ระยะ เพื่อไทยเป็นพรรคที่เน้นการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้อง
แก่ประชาชน โดยมีนโยบายแก้จน ฟื้นเศรษฐกิจซึ่งแก้ปัญหา 3 ระยะ พร้อมรับปากจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ภายใน 180 วัน โดย
72
ระยะที่1 การตรวจโรค คือ สำารวจและตรวจสอบความเสียหายและหนี้จากโครงการจาก
รัฐบาล พร้อมตรวจสอบข้อกฎหมายที่มีปัญหา เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พระราชบัญญัติข้าว พระราชบัญญัติการประมง เป็นต้น
72 “เพื่อไทย เปิดนโยบายแก้จน โค้งสุดท้าย 3 ระยะ ลั่นใช้ 180 วันพลิกฟื้น ปัญหาเศรษฐกิจ” ข่าวสด, 4 มีนาคม
2562, www.khaosod.co.th/election-2019/news_2272700