Page 95 - kpiebook63029
P. 95

94       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             แต่ละพรรคจะได้ดำาเนินงานอยู่ในกรอบ พรรคใดที่มีปัญหากับยุทธศาสตร์ชาติ อาจเป็นเพราะไม่สามารถ

             ที่จะเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกตัวเองได้” (สัมภาษณ์ วันที่ 28 เมษายน 2562) ขณะที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรค
             เพื่อไทยคนหนึ่ง กล่าวว่า “นโยบายยุทธศาสตร์ชาติมีผลต่อการทำางานของพรรคแน่นอน หากพรรค

             ได้เป็นรัฐบาล การที่กำาหนดกรอบไว้กว้างมาก ไม่แน่ว่าการดำาเนินงานของพรรคอาจจะผิดกับนโยบาย
             ยุทธศาสตร์ชาติได้”






                     2.4.2  นโยบำยพรรคกำรเมือง


                      ในอดีตพรรคการเมืองมีนโยบายที่มักให้ความสำาคัญกับการบริหารในภาพรวมมากกว่า
             ซึ่งประชาชนมองว่าไม่ได้ตอบสนองความต้องการเท่าใดนัก นโยบายของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ประชาชนรู้สึก

             ไกลตัว และไม่ได้รู้สึกว่าการเมืองจะสามารถช่วยอะไรพวกเขาได้ จนกระทั่งถึงในยุคของรัฐบาลทักษิณ
             ที่มีนโยบายที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและเข้าถึงประชาชนได้ทันที โดยเฉพาะ

             ชนชั้นรากหญ้า เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน นโยบายพักชำาระหนี้เกษตรกร
             บ้านเอื้ออาธร ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสร้างคะแนนความนิยมได้อย่างท่วมท้นจนได้รับการเลือกตั้งชนะ

             พรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และยังคว้าชัยชนะการเลือกตั้งในสมัยที่ 2


                      จากการดำาเนินนโยบายในครั้งนั้น ทำาให้ประชาชนชั้นรากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
             มองเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำาให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์ และให้ความสำาคัญ

             กับการเลือกตั้งมากขึ้น ซึ่งการดำาเนินนโยบายแบบรัฐบาลทักษิณถูกเรียกว่า เป็นเพียง “นโยบาย
             ประชานิยม” ซึ่งได้กล่าวถึงครั้งแรกในการเมืองไทย โดยนโยบายนี้เป็นเพียงการใช้นโยบายเพื่อดึง

             คะแนนเสียงจากชนชั้นรากหญ้าแทนการแจกสิ่งของแบบเดิมเท่านั้น แม้ว่านโยบายประชาชนจะถูก
             กล่าวว่าเป็นการมอมเมาประชาชน แต่หลังจากยุครัฐบาลทักษิณ พรรคการเมืองต่างๆ ต่างพากัน

             ชูนโยบายที่มีความคล้ายคลึงกับประชานิยม เพื่อดึงดูดใจให้ประชาชนเลือกพรรคตนเอง นโยบาย
             ประชานิยมได้กลายมาเป็นนโยบายที่พรรคการเมืองต่างเลือกใช้ เพราะเป็นที่ถูกใจของประชาชน และ

             สามารถช่วยให้ชนะเลือกตั้งได้ หลังจากรัฐประหารปี 2549 เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ นโยบายที่ถูกเรียกว่า
             ประชานิยมได้ถูกเอามาใช้อีกครั้ง เช่น พรรคเพื่อไทยโดยการนำาของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มี

             นโยบายค่าแรงขั้นตำ่า 300 บาท ทั่วประเทศ นโยบายฐานเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท
             หรือโครงการรับจำานำาข้าวข้าวเปลือกในราคา 16,000 บาทต่อเกวียน ซึ่งได้ถูกต่อต้านจากนักวิชาการ

             จำานวนมากว่าเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด เพราะให้ราคาที่สูงกว่าราคาในตลาด ในขณะเดียวกัน
             พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายประกันราคาข้าว โดยเกษตรกรจะขายข้าว ได้ในราคาไม่ตำ่ากว่า 10,000 บาท

             และอาจจะปรับขึ้นในปีต่อไป แม้แต่รัฐบาล คสช. ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อครั้งได้เข้ามาเป็น
             รัฐบาลได้พยายามต่อต้านนโยบายประชานิยมมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แต่ทว่าเมื่อมีกำาหนดการเลือกตั้ง

             รัฐบาล คสช. กลับเร่งอัดฉีดประชาชนชั้นรากหญ้าในครึ่งปีหลัง ก่อนการเลือกตั้งปี 2562 โดยให้รัฐมนตรี
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100