Page 88 - kpiebook63029
P. 88

87







                          เมื่อสัมภาษณ์ความเห็นของประชาชนต่อการย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดเลย
                  ประชาชนคนหนึ่งกล่าวว่า “ตนก็รับทราบข่าวจากโทรทัศน์ว่าจังหวัดเลยมี ส.ส. ย้ายพรรคเกือบยกจังหวัด

                  ก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร เพราะจากประสบการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมาตนก็พบเห็น ส.ส. ย้ายพรรคหลายคน
                  หลายคนก็กลับเข้ามาเป็น ส.ส. ได้อีก หลายคนก็สอบตกเลย ส่วนการเลือกตั้งครั้งนี้ตนมองว่าคนยังจะ

                  ศรัทธากับพรรคการเมืองและอุดมการณ์ที่เขาชื่นชอบมากกว่าตัวบุคคล” (สัมภาษณ์ 16 มีนาคม 2562)
                  และประชาชนอีกคนหนึ่งกล่าวว่า “การย้ายพรรคการเมืองของ ส.ส. ทำาให้ประชาชนตัดสินใจที่จะเลือก

                  ลงคะแนนได้ง่ายมากขึ้น เพราะบางคนก็เบื่อ ส.ส. คนเดิม อยู่มาหลายปีจังหวัดเลยก็ไม่ได้พัฒนาอะไร
                  ขึ้นมากเลย แต่ที่ต้องเลือกเพราะอยากให้พรรคที่ตัวเองชอบชนะ ได้ไปบริหารประเทศ เมื่อคนไม่อยู่

                  แต่พรรคอยู่ เราก็จะเลือกพรรค แม้ว่าผู้สมัครจะเป็นใครก็ตาม” (สัมภาษณ์ 16 มีนาคม 2562)





                  2.3  ระบบกำรเลือกตั้งตำมรัฐธรรมนูญต่อกำรตัดสินใจเลือกตั้ง

                  ส.ส. จังหวัดเลย



                          2.3.1 เปรียบเทียบระบบกำรเลือกตั้งตำมรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
                  - 2560


                          (1)   กำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรภำยใต้รัฐธรรมนูญปี 2540


                          ประเทศไทยเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งมาหลายรูปแบบ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ถือเป็น

                  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในระบบใหม่ โดยแบ่งเป็นระบบบัญชีรายชื่อจำานวน 100 คน
                  และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งอีกจำานวน 400 คน มีการแบ่งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น 2 ประเภท

                  โดยประเภทแรกนั้นได้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเล็ก มีผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคน โดยทั้งประเทศ
                  มีทั้งสิ้นจำานวน 400 เขต กับประเภทที่ 2 ซึ่งใช้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งและให้มีผู้แทนราษฎรในเขตนี้

                  ได้รวมทั้งสิ้นจำานวน 100 คน ทั้งนี้ได้กำาหนดให้มีบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขต คือ
                  เลือก ส.ส. เขต และบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ส่งผลให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเลือก ส.ส.เขต และ

                  พรรคแตกต่างกันได้อย่างเป็นอิสระจากกัน นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้แก้ไขให้ผู้สมัครสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกัน

                  ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกใช้ในการจัดการเลือกตั้ง
                  จำานวน 2 ครั้ง คือครั้งแรกในปี 2544 และ 2548 ทั้งนี้ ได้มีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2549 หลัง

                  รัฐบาลประกาศยุบสภา ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น
                  โมฆะ ทำาให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในเดือนตุลาคม 2549 แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าวยังไม่ทัน

                  ถูกจัดขึ้น เพราะมีการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 ก่อน
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93