Page 84 - kpiebook63029
P. 84

83








                          การที่นายธนเทพได้เริ่มลงสนามการเมืองในระดับชาติครั้งแรกในปี 2539 ด้วยการสนับสนุน

                  จากเครือข่ายของบิดาและนายเสนาะ เทียนทอง ทำาให้นายธนเทพได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ติดต่อกัน
                  2 สมัย ในระหว่างที่เป็น ส.ส. นี้ นายธนเทพมีตำาแหน่งสำาคัญทางการเมือง เช่น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ

                  กระทรวงมหาดไทย กรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น
                  จึงยิ่งเป็นการสร้างบารมีในทางการเมืองระดับชาติของตระกูลทิมสุวรรณมากขึ้น กระทั่งการเลือกตั้งใน

                  ปี 2548 นายธนเทพได้ผลักดันให้นางนันทนา ทิมสุวรรณ ภรรยา ซึ่งเคยทำางานด้านการบริหารท้องถิ่น
                  มาก่อน ลงสมัครเป็น ส.ส. เขตแทนเรื่อยมา ส่วนนายธนเทพหันไปสมัครเป็น ส.ว. และ ส.ส. แบบบัญชี

                  รายชื่อ ซึ่งทุกครั้งก็จะได้รับการเลือกตั้งมาโดยตลอด เช่นเดียวกับการครองตำาแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นใน
                  ระดับจังหวัดแบบผูกขาดของตระกูลทิมสุวรรณมาหลายสมัยต่อเนื่องจนถึงรุ่นของนายธนาวุฒิ บุตรชาย

                  คนเล็กของนายสุรัตน์และเป็นน้องชายของนายธนเทพ โดยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
                  ติดต่อกันถึง 3 สมัย ภายใต้การบริหารงบประมาณอย่างมหาศาล การจัดสรรทรัพยากรผ่านโครงการ

                  ต่างๆ ของรัฐลงไปในพื้นที่ชุมชนและหมู่บ้านก็ยิ่งเป็นการสร้างพื้นที่ฐานเสียงความนิยมจากประชาชน
                  และบารมีทางการเมืองของตระกูลทิมสุวรรณเป็นอย่างดี


                          การครองพื้นที่ทางการเมืองของตระกูลทิมสุวรรณผ่านการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับ
                  ท้องถิ่นในจังหวัดเลยที่ต่อเนื่องยาวนานเช่นนี้ สะท้อนถึงความสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายทางการเมือง

                  ที่เข้มแข็งของตระกูลทิมสุวรรณ จนมีความเชื่อว่าในพื้นที่เลือกตั้งของตระกูลทิมสุวรรณ หากส่งใคร

                  ลงสมัครก็ชนะเสมอ จนถูกขนานนามในทางการเมืองของตระกูลนี้ว่า “บ้านใหญ่แห่งวังสะพุง”

                          ตระกูลสังขทรัพย์


                          เดิมต้นตระกูลสังขทรัพย์อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมา พ.ต.อ. กฤช สังขทรัพย์ (เดิมชื่อ

                  บุญเลิศ) ได้ย้ายถิ่นฐานมาประจำาการในจังหวัดเลยและปฏิบัติงานในตำาแหน่งผู้บัญชาการตำารวจท้องที่
                  ในหลายอำาเภอของจังหวัดเลย ได้แก่ อำาเภอเชียงคาน อำาเภอด่านซ้าย และอำาเภอเมืองเลย กระทั่งได้

                  ดำารงตำาแหน่งผู้กำากับการตำารวจภูธรจังหวัดเลยในเวลาต่อมา ในช่วงเวลานั้นจังหวัดเลยเป็นเขตคุกคาม
                  ของคอมมิวนิสต์ ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่สู้รบครั้งหนึ่ง พ.ต.ต. กฤช (ยศในขณะนั้น) ได้นำากำาลังตำารวจ

                  เข้ายึดหมู่บ้านม้งบนภูขี้เถ้าซึ่งอยู่ในแนวเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดเลยและจังหวัดพิษณุโลก จนถูกกลุ่ม
                  คอมมิวนิสต์ปิดล้อมนานถึง 15 วัน ต่อมาทางราชการโดยกองทัพภาคที่ 2 จึงนำากำาลังไปช่วยรบจนได้รับ

                  ชัยชนะ จนสื่อมวลชนขนานนามว่าเป็น “อัศวินภูขี้เถ้า” ทำาให้ชื่อเสียงของตระกูลสังขทรัพย์เริ่มเป็นที่รู้จัก
                  ในพื้นที่จังหวัดเลย จากนั้น พ.ต.อ. กฤช ได้ย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำารวจภูธรเพชรบุรี ต่อมาได้ลาออก

                  จากราชการตำารวจเพื่อกลับมาลงสนามการเมืองในจังหวัดเลยเป็นครั้งแรกด้วยการสมัครเป็น ส.ส. สังกัด
                  พรรคชาติไทย โดยชูสัญลักษณ์ฉายาอัศวินภูขี้เถ้าและผลงานในช่วงรับราชการตำารวจในพื้นที่จังหวัดเลย

                  เป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมทางการเมือง ตลอดจนการอาศัยฐานเครือข่ายข้าราชการตำารวจใน
                  ท้องที่ต่างๆ ในจังหวัดเลยเป็นแรงสนับสนุน จึงทำาให้ พ.ต.อ. กฤช ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัด

                  เลยสมัยแรกใน ปี 2519 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2522
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89