Page 80 - kpiebook63029
P. 80

79








                  แม้จะสังกัดพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับความนิยมหรือเลือกพรรคการเมืองที่ชื่นชอบแม้บุคคลที่เป็นผู้สมัคร

                  ส.ส. จะไม่เป็นที่รู้จักก็ตามซึ่งทั้งหมดจะถูกแสดงในบัตรเลือกตั้งใบเดียว


                          สำาหรับนายธนยศ ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นคู่แข่งคนสำาคัญและมีโอกาส
                  ชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 เช่นเดียวกับนายปรีชา นายธนยศจบการศึกษาระดับปริญญาตรี

                  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านธุรกิจระหว่างประเทศ จาก
                  Hult International Business School ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากจบการศึกษาได้กลับมาประกอบธุรกิจ

                  ต่อยอดจากครอบครัวจนประสบความสำาเร็จ และก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองในวัย 28 ปี โดยลงรับสมัคร
                  เลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรก เขตเลือกตั้งที่ 3 ไม่ได้เป็นฐานเสียงของตระกูลทิมสุวรรณโดยตรงและ

                  นายธนยศเองก็ไม่มีฐานเสียงเป็นของตนเองเนื่องจากไม่เคยลงเล่นการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ
                  มาก่อน แต่ได้อาศัยบารมีและชื่อเสียงของตระกูลทิมสุวรรณที่ได้สร้างผลงานให้กับจังหวัดเลยมาอย่าง

                  ยาวนาน โดยเฉพาะนายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ ผู้ซึ่งเป็นบิดา ได้ทำางานการเมืองระดับท้องถิ่นด้วยการดำารง
                  ตำาแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยมาหลายสมัย การผลักดันงบประมาณพัฒนาจังหวัดและ

                  ชุมชนผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างถนน โครงการพัฒนาแหล่ง
                  ท่องเที่ยว ฯลฯ จนเป็นที่น่าพึงพอใจของประชาชน สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อคะแนนนิยมของตระกูลทิมสุวรรณ

                  และอาจเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้นายธนยศชนะการเลือกตั้งได้

                          นายธนยศได้อธิบายเหตุผลเกี่ยวกับประเด็นการเลือกลงสมัคร ส.ส. ในพรรคการเมืองที่แตกต่าง

                  จากนายศรัณย์ ซึ่งมาจากตระกูลทิมสุวรรณด้วยกันว่า “อุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน ซึ่งผม

                  กับน้อง (นายศรัณย์) ก็อยู่บ้านด้วยกัน เรียนด้วยกันมหาวิทยาลัยเดียวกัน คณะเดียวกัน แต่เรามองว่า
                  เราอยู่พรรคไหนจะช่วยชาวบ้านได้มากกว่ากัน มีนโยบายอะไรที่ตอบสนองประชาชนได้ ซึ่งเราเลือก
                  พรรคที่มีนโยบายตรงกับเราที่สุด สุดท้ายแล้วผลประโยชน์ก็ตกที่ชาวบ้าน ไม่ใช่ว่าเราอยู่คนละพรรคเรา

                  จะไม่ชอบกันหรือทำางานร่วมกันไม่ได้” (สัมภาษณ์ วันที่ 22 พฤษภาคม 2562) นายธนยศ ยังกล่าวต่ออีกว่า

                  “ในเขต 3 อำาเภอส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ภูเรือ ด่านซ้าย เชียงคาน ซึ่งนโยบายพรรคภูมิใจไทย
                  มันตอบโจทย์เขตเลือกตั้งในเขตผมมากกว่า ยกตัวอย่าง บุรีรัมย์โมเดลจากเมืองผ่านเป็นเมืองท่องเที่ยว
                  เราเลยอยากได้นโยบายตัวนั้นมาผลักดันที่จังหวัดเลยให้มันดังมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้เลือกลง

                  พรรคภูมิใจไทย” (สัมภาษณ์ วันที่ 22 พฤษภาคม 2562) ขณะที่ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองหนึ่ง

                  วิเคราะห์ว่า “การอยู่คนละพรรคของตระกูลทิมสุวรรณ น่าจะเป็นการสร้างเครือข่ายทางการเมืองมากกว่า
                  อุดมการณ์ เพราะภูมิใจไทยเคยชวนนายศรัณย์ไปอยู่พรรคแล้วแต่นายศรัณย์ก็ปฏิเสธ เช่นเดียวกับ
                  นายธนยศที่เพื่อไทยก็เคยชวนไป แต่เขาก็ยืนยันว่าจะอยู่ภูมิใจไทย ส่วนหนึ่งพ่อของธนยศได้ร่วมงานกับ

                  พรรคภูมิใจไทยมานาน” (สัมภาษณ์ วันที่ 22 พฤษภาคม 2562)


                          ในส่วนของนายสันติภาพ เชื้อบุญมี จากพรรคเพื่อไทย แม้จะเป็นผู้สมัคร ส.ส. ใหม่ในพื้นที่
                  การเมืองระดับประเทศเป็นครั้งแรก แต่นายสันติภาพก็มีฐานเสียงเดิมเป็นของตนเอง คือ เขตอำาเภอ

                  ด่านซ้าย จากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นและทำางานด้านการบริหารท้องถิ่นมาหลายปีด้วยการอาศัย
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85